ชื่อเรื่อง | : | การใช้เยื่อหุ้มรกของสุนัขรักษาแผลหลุมของกระจกตาที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและเกิดขึ้นเองในสุนัข |
นักวิจัย | : | สิมณฑ์ วงษ์สกุล |
คำค้น | : | กระจกตา , กระจกตา -- แผล , เยื่อหุ้มรก -- การใช้รักษา , สุนัข -- โรค |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์ , สุดสรร ศิริไวทยพงศ์ , ปราณี ตันติวนิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14210 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การศึกษาทำในสุนัขทดลอง 10 ตัวและสุนัขป่วย 10 ตัว ในการทำให้เกิดแผลหลุมของกระจกตาในสุนัขทดลองทุกตัวใช้ trephine ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร เจาะที่บริเวณกึ่งกลางของกระจกตาลึกถึงชั้นส่วนพยุงทั้ง 2 ข้างแต่เว้นระยะห่างระหว่างข้าง 60 วัน หลังจากทำให้เกิดแผลหลุม ตา 4 ข้างของสุนัขทดลอง 4 ตัวได้รับการรักษาด้วยการเย็บหนังตาที่ 3 ปิด (กลุ่มที่ 1) ในขณะที่ตาอีก 4 ข้างได้รับการรักษาโดยใช้เยื่อหุ้มรกสดร่วมกับการเย็บหนังตาที่ 3 (กลุ่มที่ 2) แผลหลุมอีก 12 ตาของสุนัขทดลอง 6 ตัวได้รับการรักษาหลังเปิดแผลหลุมทิ้งไว้ 3 วัน โดยการเย็บหนังตาที่ 3 ในตา 6 ข้าง (กลุ่มที่ 3) และใช้เยื่อหุ้มรกเก็บถนอมร่วมกับการเย็บหนังตาที่ 3 ในตาอีก 6 ข้าง (กลุ่มที่ 4) สุนัขป่วยทุกตัวได้รับการรักษาโดยการใช้เยื่อหุ้มรกเก็บถนอมร่วมกับการเย็บหนังตาที่ 3 สังเกตระยะเวลาการหายไปของเยื่อหุ้มรก การสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุม การขุ่นของกระจกตา การมองเห็นและอาการแทรกซ้อนเป็นระยะเวลา 60 วัน ในสุนัขทดลองพบว่าเยื่อหุ้มรกชนิดสด และชนิดเก็บถนอมหายไปที่ 10.50 ± 2.38 และ 7.33 ± 0.52 วัน ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ระหว่างระยะเวลาการสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุมและระยะเวลากระจกตาขุ่นของสุนัขกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ในขณะที่กลุ่มที่ 4 มีระยะเวลาการสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุมสั้นกว่ากลุ่มที่ 3 แต่พบการขุ่นของกระจกตายาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สุนัขทุกตัวมองเห็นเป็นปกติและไม่มีแผลเป็นที่กระจกตา ถึงแม้จะพบการบวมน้ำเฉพาะแห่งของกระจกตาและเส้นเลือดชั้นผิว ในบริเวณที่มีไหมเย็บตกค้างในสุนัข 1 ตัว ซึ่งหายไปภายหลังตัดไหม เยื่อหุ้มรกในสุนัขป่วยหายไปในระยะเวลาประมาณ 11.40 ± 4.43 วัน พบการสร้างเยื่อบุผิวเต็มแผลหลุมภายใน 7 วัน จำนวน 3 ตัว และภายในวันที่ 21 ใน 7 ตัวที่เหลือกระจกตากลับใสภายใน 60 วัน (30.10 ± 12.80 วัน) สุนัข 9 ตัวมองเห็นเป็นปกติ |
บรรณานุกรม | : |
สิมณฑ์ วงษ์สกุล . (2549). การใช้เยื่อหุ้มรกของสุนัขรักษาแผลหลุมของกระจกตาที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและเกิดขึ้นเองในสุนัข.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิมณฑ์ วงษ์สกุล . 2549. "การใช้เยื่อหุ้มรกของสุนัขรักษาแผลหลุมของกระจกตาที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและเกิดขึ้นเองในสุนัข".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิมณฑ์ วงษ์สกุล . "การใช้เยื่อหุ้มรกของสุนัขรักษาแผลหลุมของกระจกตาที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและเกิดขึ้นเองในสุนัข."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. สิมณฑ์ วงษ์สกุล . การใช้เยื่อหุ้มรกของสุนัขรักษาแผลหลุมของกระจกตาที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและเกิดขึ้นเองในสุนัข. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|