ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาอัญมณีจากผลึกอะลูมินาระดับนาโนเมตรที่เติมแต่งสี |
นักวิจัย | : | ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล , Tawatchai Charinpanitkul |
คำค้น | : | Aluminum oxide , Chemical science , JewelryPrecious stones , Nanoabsorbant, nanofilter and nanocatalyst , Nanoparticles , ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ , สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช , อนุภาคนาโน , อะลูมินัมออกไซด์ , อะลูมินา , อัญมณี |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/199 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | อัญมณีนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศมากเป็นอันดับต้น โดยมีมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ส่วนมากนั้นจะมุ่งเน้นที่อัญมณีที่ได้จากธรรมชาติ แต่ด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่ในการสังเคราะห์วัสดุอนุภาคจากสารอนินทรีย์ ทำให้เราสามารถที่จะผลิตวัสดุอนุภาคแบบใหม่ที่สามารถปรับปรุงให้เป็นอัญมณี ซี่งสามารถนำไปขึ้นรูปให้มีรูปทรงซับซ้อนได้ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่จำกัดเพียงเครื่องประดับ อาทิเช่น นำมาทำเป็นงานศิลปะที่มีรูปร่างที่ซับซ้อน เช่น พระพุทธรูป รูปปั้น อุปกรณ์ตกแต่ง เป็นต้น เป็นที่ทราบกันดีกว่า อะลูมินานั้นเป็นวัสดุอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบพอลิคริสตัลที่สามารถนำไปทำให้มีรูปร่างต่างๆซับซ้อน ได้ โดยปกติอนุภาคของอะลูมินาที่ใช้จะมีขนาดของอนุภาคในระดับไมโครเมตร และเมื่อผ่านการขึ้นรูปแล้วจะมีสมบัติทางแสงคือ ทึบแสง แต่ถ้าหากนำผงอะลูมินาที่มีอนุภาคขนาดนาโนเมตรมาใช้ในการขึ้นรูป จะกลับพบว่าได้เซรามิกอะลูมินาที่มีลักษณะโปร่งใส หรือโปร่งแสง ซึ่งทั้งนี้ขึ้นกับเงื่อนไข และหากพัฒนาเทคนิคการเติมสารมลทินบางชนิดเข้ากับอนุภาคอะลูมินาระดับนาโน เมตร รวมกับทำการพัฒนาเทคนิคการขึ้นรูปเซรามิกจะทำให้ได้ชิ้นงานเซรามิกที่มี ลักษณะใสและมีสีเช่นเดียวกับอัญมณีธรรมชาติ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวจะนำไปสู่ก้าวใหม่ของวงการอัญมณี สังเคราะห์ และทางด้านการเพิ่มผลผลิตแก่ประเทศชาติ สำหรับโครงการวิจัยพัฒนานี้มุ่งเน้น ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการสังเคราะห์อนุภาคอะลูมินาที่มีขนาดระดับนาโน เมตร ซึ่งจะนำไปปรับเติมด้วยสีโดยอาศัยประจุของสารมลทิน แล้วจึงทำการขึ้นรูปอะลูมินาเซรามิกด้วยวิธีการบีบอัด และการหล่อในแม่พิมพ์ ก่อนทำการเผาผนึกเพื่อให้ได้อะลูมินาเซรามิกที่มีคุณลักษณะใส และมีสีตามที่ออกแบบ โดยโครงการวิจัยเป็นการอาศัยการประสานองค์ความรู้ในระหว่าง 3 ห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อได้เกิดผลสัมฤทธิ์ข้างต้น |
บรรณานุกรม | : |
ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล , Tawatchai Charinpanitkul . (2552). การพัฒนาอัญมณีจากผลึกอะลูมินาระดับนาโนเมตรที่เติมแต่งสี.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล , Tawatchai Charinpanitkul . 2552. "การพัฒนาอัญมณีจากผลึกอะลูมินาระดับนาโนเมตรที่เติมแต่งสี".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล , Tawatchai Charinpanitkul . "การพัฒนาอัญมณีจากผลึกอะลูมินาระดับนาโนเมตรที่เติมแต่งสี."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2552. Print. ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล , Tawatchai Charinpanitkul . การพัฒนาอัญมณีจากผลึกอะลูมินาระดับนาโนเมตรที่เติมแต่งสี. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2552.
|