ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลักของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ธีรยุทธ์ แพร่กุลธาร |
คำค้น | : | การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม , ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ , สถาปนิก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ , อวยชัย วุฒิโฆสิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741729898 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12175 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วิชาชีพสถาปัตยกรรม เป็นงานบริการหนึ่งที่ถูกกำหนดอยู่ในงานบริการด้านธุรกิจ ประเภทการปฏิบัติวิชาชีพ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) อันเป็นข้อตกลงหนึ่งขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ ในช่วงเวลาที่ศึกษานี้ การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศยังเป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยเท่านั้น ดังนั้นการเข้ามาทำงานของสถาปนิกต่างชาติจึงกลายเป็นประเด็นที่ควรจะมีการ ศึกษาวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึง การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกในประเทศไทย ความคิดเห็นของสถาปนิกถึง ข้อดีและข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น และหาแนวทางในการเปิดเสรีการค้าในวิชาชีพนี้ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด วิธีการศึกษา เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสถาปนิกแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคณะอนุกรรมการด้านการเปิดเสรีการค้าด้านบริการสถาปัตยกรรมของสภา สถาปนิก 2. กลุ่มผู้ให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่มีประสบการณ์ในการรับงานในต่าง ประเทศอย่างต่อเนื่อง 3. กลุ่มผู้ให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่มีประสบการณ์ในการทำงานภายในประเทศ เป็นหลัก โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงบรรยายโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ความเข้าใจในแต่ละชนิดงานของการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ยังไม่สอดคล้องกับชนิดงานตามกฎหมายนัก เนื่องจากตัวกฎหมายให้ความหมายในแต่ละชนิดงานไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ และอาจเป็นปัญหาในเรื่องการให้ความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับคำนิยามการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมขององค์การการค้า โลก (WTO) นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรมีการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างมีเงื่อนไข และเป็นขั้นเป็นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรที่จะต้องให้มีการร่วมงานกันระหว่างสถาปนิกไทยกับ สถาปนิกต่างชาติ ส่วนการให้สถาปนิกต่างชาติที่จะเข้ามาทั้งในรูปบุคคลและนิติบุคคลอย่างอิสระ นั้น ยังไม่สมควรเปิดเสรีในระยะเวลานี้ อีกทั้งยังต้องมีการกำหนดคุณสมบัติ และข้อกำหนดในการรับใบอนุญาตให้เกิดความชัดเจน และเห็นว่าวิชาชีพจะต้องมีการสร้างความพร้อมในอีกหลายด้านด้วยกัน ดังนั้น แนวทางในการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลัก ของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทยนั้น จะต้องทำร่วมกัน 3 แนวทางคือ 1. แนวทางการเลือกรูปแบบและการสร้างเงื่อนไข ในการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพ 2. การจัดทำข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และคุณสมบัติต่างๆ ของสถาปนิกต่างชาติ เพื่อขอรับใบอนุญาตให้เข้ามาทำงาน 3. การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทย |
บรรณานุกรม | : |
ธีรยุทธ์ แพร่กุลธาร . (2545). แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลักของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรยุทธ์ แพร่กุลธาร . 2545. "แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลักของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรยุทธ์ แพร่กุลธาร . "แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลักของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ธีรยุทธ์ แพร่กุลธาร . แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลักของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|