ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม |
นักวิจัย | : | ขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล |
คำค้น | : | พยาบาลห้องผ่าตัด , การพยาบาลสูติศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ยุพิน อังสุโรจน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741424507 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7979 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ พยาบาลหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม และพยาบาลประจำการห้องผ่าตัด สูตินรีเวชกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .98 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบหลักหมุนแกนแบบออโธกอนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม จำนวน 3 ชุด แต่ละชุดต่างกันที่ผู้ประเมิน ได้แก่พยาบาลประจำการประเมินตนเอง หัวหน้าห้องผ่าตัด และพยาบาลผู้ร่วมงาน โดยใช้แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา นำข้อมูลที่ได้มาหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และหาความสอดคล้องของแบบประเมินระหว่างผู้ประเมิน ผลการวัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม ประกอบด้วย 8 ตัวประกอบบรรยายด้วย 61 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 71.48 ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการพยาบาลผ่าตัด บรรยายด้วย 12 ตัวแปร 2) ด้านการสื่อสารและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล บรรยายด้วย 14 ตัวแปร 3) ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 8 ตัวแปร 4) ด้านการบริหารความเสี่ยงในห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 6 ตัวแปร 5) ด้านการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด บรรยายด้วย 4 ตัวแปร 6) ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 4 ตัวแปร 7) ด้านการประสานงานและมนุษยสัมพันธ์ บรรยายด้วย 4 ตัวแปร และ 8) ด้านการบริหารจัดการ บรรยายด้วย 9 ตัวแปรทั้ง 8 ตัวประกอบ 61 ตัวแปรนี้ นำมาสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม 2. พยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม มีสมรรถนะโดยรวมจากการประเมินตนเอง จากากรประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัด และจากการประเมินโดยผู้ร่วมงานอยู่ในระดับมาก ([x-bar] = 4.03, 3.61 และ 4.05 ตามลำดับ) และระหว่างการประเมินด้วยตนเองกับการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัดสูติ นรีเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์กัน (r = .20)ระหว่างการประเมินด้วยตนเองกับการประเมินโดยพยาบาลผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .30) และระหว่างการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมกับการประเมินโดยพยาบาลผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .40) |
บรรณานุกรม | : |
ขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล . (2548). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล . 2548. "การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล . "การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล . การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|