ชื่อเรื่อง | : | เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง |
นักวิจัย | : | พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร |
คำค้น | : | ระบบอุปถัมภ์ , อาชญากรรม , อาชญากร , มือปืน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746376691 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7786 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 การศึกษาวิจัยเรื่องเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้างมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังของมือปืนรับจ้าง ภายใต้สภาพสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการศึกษา 2) เพื่อศึกษากระบวนการเข้าสู่การเป็นมือปืนรับจ้าง 3) เพื่อศึกษาสายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างมือปืนรับจ้างกับผู้อุปถัมภ์ โดยศึกษามือปืนจำนวน 5 คน จากการรู้จักเป็นการส่วนตัวกับมือปืน และบุคคลอื่นที่เชื่อใจได้แนะนำมือปืนให้ อีกทั้งยังตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากแนะนำอีกชั้นหนึ่ง มือปืนทั้ง 5 คน คือ โผน ไชโย โทน บัง และเพชร ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ยกเว้นโผน แต่ขณะเก็บข้อมูลโผนได้ถูกฆ่าตายในปลายปี พ.ศ. 2540 ผลการศึกษาปรากฏว่ามือปืนแทบทุกคนมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่ยากจนและอาศัยอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน ครอบครัวประกอบอาชีพการเกษตร พื้นที่ดินทำกินแห้งแล้ง มีพี่น้องหลายคนมีการศึกษาไม่สูง ยกเว้นไชโยที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนผ่านขั้นตอนการปล้นจี้ การเป็นนักเลงมาอย่างโชกโชน และเดินทางเข้าสายมือปืนอาชีพในที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างมือปืนกับผู้อุปถัมภ์ เริ่มขั้นตอนจากการที่ผู้อุปถัมภ์ขั้นแรกภายในหมู่บ้านที่ช่วยวิ่งเต้นเรื่องคดีความ มือปืนตอบแทนโดยการควบคุมคะแนนเสียงเมื่อผู้อุปถัมภ์รายนั้นลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าในระดับสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ความสัมพันธ์กระชับเกลียวยิ่งขึ้นเมื่อผู้อุปถัมภ์สั่งให้มือปืนไปฆ่าคนอื่นที่มีปัญหากับตน และผู้อุปถัมภ์เป็นผู้ช่วยเหลือหากมีปัญหาการจับกุมของเจ้าหน้าที่ทางการ ความสัมพันธ์ของมือปืนกับผู้อุปถัมภ์จะขยายวงกว้างขึ้นเมื่อมีการส่งผ่านมือปืนไปยังผู้มีอิทธิพลรายอื่นและกลายเป็นผู้อุปถัมภ์รายต่อไป มือปืนทำงานให้ผู้อุปถัมภ์ทุกประเภท เช่น คุมบ่อนการพนัน ปลูกกัญชา รับงานฆ่า เป็นต้น ผู้อุปถัมภ์ให้การดูแลเรื่องความปลอดภัย ทรัพย์สินเงินทองทั้งของมือปืน และบุตร ภรรยา มือปืนตอบแทนด้วยความภักดีและชีวิต อย่างไรก็ตามเมื่อถึงจุดหนึ่งผู้อุปถัมภ์มิได้ช่วยมือปืนได้ทุกกรณี จากกรณีศึกษามือปืน 5 ราย สี่รายถูกคุมขังอีกหนึ่งรายถูกฆ่า แนวโน้มการช่วยเหลือหรืออุปถัมภ์จะจำกัดเฉพาะเรื่อง และบางโอกาสมากกว่าในอดีตที่ช่วยด้วยความเต็มใจ ในภายภาคหน้าลักษณะอาชีพมือปืนคงเปลี่ยนรูปแบบที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมที่พัฒนาไป |
บรรณานุกรม | : |
พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร . (2540). เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร . 2540. "เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร . "เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร . เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีมือปืนรับจ้าง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|