ชื่อเรื่อง | : | ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ ต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม |
นักวิจัย | : | อัปษร ตรีเทวี |
คำค้น | : | พยาบาล -- การฝึกอบรม , การสื่อสารทางการพยาบาล , การพยาบาลสูติศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วีณา จีระแพทย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741798075 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5765 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว ประเมินก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม ก่อนและหลังใช้โปรแกรม การฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ใช้เป็นกลุ่มของการศึกษาโปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานประจำห้องตรวจสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 12 คน คัดเลือกได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ ตามการหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ณ หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลตำรวจ ในสัปดาห์ที่เริ่มทำการศึกษา และกลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อการประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม คือหญิงตั้งครรภ์ที่มาใช้บริการฝากครรภ์ ณ หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 29 คน คัดเลือกได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากประชากรหญิงตั้งครรภ์ที่มาใช้บริการฝากครรภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ โดยใช้ เทคนิคหลักของการฝึกอบรมซึ่งประกอบด้วย การแสดงบทบาทสมมติ การใช้ตัวแบบ และการเสริมแรงทางสังคม และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินคุณภาพการบริการพยาบาล ด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม เป็นการประเมินจากการรายงานของกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์ โดยแบบประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว แบบประเมินประกอบด้วยพฤติกรรมการสื่อสารที่พยาบาลกระทำ 2 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการสื่อสารเชิงวัจนภาษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 และด้านพฤติกรรมการสื่อสารเชิงอวัจนภาษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม หลังใช้โปรแกรมการฝึกอบรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
อัปษร ตรีเทวี . (2545). ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ ต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัปษร ตรีเทวี . 2545. "ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ ต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัปษร ตรีเทวี . "ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ ต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. อัปษร ตรีเทวี . ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสารสำหรับพยาบาลประจำการ ต่อคุณภาพการบริการพยาบาลด้านการสื่อสาร แผนกผู้ป่วยนอก สูติกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|