ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาระบบการบริหารการผลิตเพื่อการลดความสูญเสีย |
นักวิจัย | : | พรเลิศ ลักษณเชษฐ์ |
คำค้น | : | การบริหารงานผลิต , การควบคุมความสูญเปล่า , การควบคุมการผลิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วันชัย ริจิรวนิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741302541 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5498 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 พัฒนาระบบการบริหารการผลิตเพื่อการลดความสูญเสีย โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพทั่วไปของโรงงาน ศึกษาระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานวางแผนการผลิต ข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในการดำเนินงานผลิตที่มีผลให้การดำเนินการผลิตไม่ราบรื่น ความบกพร่องดังกล่าวเป็นผลจากการขาดการวางแผน ขาดการประสานงาน และการควบคุมที่ดีในแผนกผลิต ทำให้เกิดเป็นความสูญเสียขึ้นในการดำเนินงาน จากการศึกษาปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้เสนอแนวคิด ในการปรับปรุงระบบการติดต่อสื่อสาร การจัดทำระบบเอกสารเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ประสานงาน ควบคุมการทำงาน การวางแผนระบบงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน การจัดทำกิจกรรม 5 ส. ภายในหน่วยงานที่ศึกษาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น หลังจากการพัฒนาระบบแล้วพบว่าความถี่ของการเกิดความบกพร่อง ในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานที่ศึกษาได้ลดลงจาก 16.7 ครั้งต่อเดือนเหลือ 0.84 ครั้งต่อเดือน ซึ่งการลดลงของปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารนี้ทำให้ระบบการประสานงาน ระหว่างแผนกที่ศึกษาสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่นมากขึ้น นอกจากนี้จากผลการปรับปรุงระบบการผลิต ทำให้ความถี่ของการเกิดความบกพร่องอื่นๆ ในการดำเนินงานผลิตได้ลดลงด้วยทำให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นลดลงจากเดิม โดยสรุปได้ว่าอัตราการขาดงานของพนักงานโดยเฉลี่ยได้ลดลงจาก 8.51% เหลือ 5.59% เวลาสูญเสียของเครื่องจักรในการผลิตโดยเฉลี่ยลดลงจาก 517.82 ชั่วโมงต่อเดือนเหลือ 265.88 ชั่วโมงต่อเดือน หรือคิดเป็นเวลาสูญเสียเครื่องจักรจากเวลาทำงานทั้งหมด โดยเฉลี่ยลดลงจาก 4.97% เหลือ 2.51% การที่เวลาสูญเสียของเครื่องจักรลดลง ทำให้สามารถดำเนินการผลิตได้มากขึ้น ราบรื่นมากขึ้น ในด้านปริมาณชิ้นงานเสียในการผลิตได้ลดลงจาก 5.04% เหลือ 1.43% ทำให้ปริมาณวัตถุดิบที่นำมาบดสำหรับการผลิตขึ้นใหม่ เพื่อทดแทนชิ้นงานส่วนที่เสียได้ลดลงจาก 14,298.67 กก. เหลือ 6,403.37 กก. หรือคิดเป็นปริมาณวัตถุดิบที่ต้องบดจากปริมาณวัตถุดิบ ที่ใช้ทั้งหมดได้ลดลงจาก 6.33% เหลือ 2.52% นอกจากนี้อัตราการทำงานล่วงเวลาของพนักงานได้ลดลงจาก 7.30% เหลือ 20.91% ผลที่ตามมาคือ ทำให้อัตราส่วนรายได้ต่อชั่วโมงแรงงาน ที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 114.59 บาทต่อชั่วโมงแรงงานเป็น 128.52 บาทต่อชั่วโมงแรงงานหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 12.16% |
บรรณานุกรม | : |
พรเลิศ ลักษณเชษฐ์ . (2543). การพัฒนาระบบการบริหารการผลิตเพื่อการลดความสูญเสีย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรเลิศ ลักษณเชษฐ์ . 2543. "การพัฒนาระบบการบริหารการผลิตเพื่อการลดความสูญเสีย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรเลิศ ลักษณเชษฐ์ . "การพัฒนาระบบการบริหารการผลิตเพื่อการลดความสูญเสีย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. พรเลิศ ลักษณเชษฐ์ . การพัฒนาระบบการบริหารการผลิตเพื่อการลดความสูญเสีย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|