ชื่อเรื่อง | : | การควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งสำหรับควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย |
นักวิจัย | : | นันทนา ศิริพันธ์ |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด , คุณภาพน้ำทิ้ง , ทฤษฎีการควบคุม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไพศาล กิตติศุภกร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741302754 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5386 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 โรงงานอุตสาหกรรมเคมีหลายประเภท อาทิเช่น โรงงานชุบโลหะและโรงงานแปรรูปเหล็กมีการใช้กรดแก่-ด่างแก่ในสายการผลิต จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เพื่อตกตะกอนโลหะหนักและควบคุมพีเอชของน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมโรงงาน การควบคุมพีเอชของน้ำเสียมีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้นสูงและเปลี่ยนแปลงตามเวลา การควบคุมแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้กัน คือ การควบคุมแบบเปิด-ปิดและการควบคุมแบบพีไอดีจะให้ผลการควบคุมไม่ดีนัก ดังนั้นเทคนิคการควบคุมแบบก้าวหน้าจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการควบคุมพีเอช งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบการควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งร่วมกับคาลมานฟิลเตอร์แบบยืดขยายเพื่อควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นเทคนิคการควบคุมแบบก้าวหน้าที่อาศัยแบบจำลองของกระบวนการ สามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนไม่เชิงเส้นที่มีอินพุทตัวเดียวเอาท์พุทตัวเดียวหรืออินพุทหลายตัวเอาท์พุทหลายตัว ตัวควบคุมแบบนี้จำเป็นต้องใช้ค่าสเตทและพารามิเตอร์ที่ถูกต้องในการคำนวณหาค่าตัวแปรปรับเพื่อควบคุมตัวแปรควบคุมให้อยู่ที่ค่าที่ต้องการ ดังนั้นตัวประมาณค่าสเตทและพารามิเตอร์แบบคาลมานฟิลเตอร์แบบยืดขยายจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งได้มีการจำลองการควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งร่วมกับคาลมานฟิลเตอร์แบบยืดขยายเพื่อควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสียบนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แม็ทแลบ ในการจำลองได้ทำการทดสอบสมรรถนะโดยให้มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรรบกวนระบบและให้สัญญาณรบกวนแบบเกาส์เสียนเกิดขึ้นกับเครื่องมือวัด และนำมาทำการทดสอบความทนทานโดยให้มีความผิดพลาดของแบบจำลองของตัวควบคุมหรือกระบวนการเกิดขึ้น ทำการควบคุมแบบพีไอดีในกรณีเดียวกันกับที่กล่าวมา เมื่อนำผลการควบคุมมาเปรียบเทียบกับพบว่าการควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งร่วมกับคาลมานฟิลเตอร์ให้สมรรถนะการควบคุมใกล้เคียงกับการควบคุมแบบพีไอดีในกรณีที่สภาวะปกติและให้สมรรถนะและความทนทานดีกว่าในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรรบกวนระบบและมีความผิดพลาดของแบบจำลองของกระบวนการ |
บรรณานุกรม | : |
นันทนา ศิริพันธ์ . (2543). การควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งสำหรับควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทนา ศิริพันธ์ . 2543. "การควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งสำหรับควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นันทนา ศิริพันธ์ . "การควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งสำหรับควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. นันทนา ศิริพันธ์ . การควบคุมแบบโกลบอลลีลิเนียร์ไรซิ่งสำหรับควบคุมพีเอชของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|