ชื่อเรื่อง | : | การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล |
นักวิจัย | : | ภาคย์ ชาตรี |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด , การดูดซับ , อะลูมินัมออกไซด์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุธา ขาวเธียร , เจิดศักดิ์ ไชยคุนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745324264 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4663 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีโดยใช้อะลูมินาและนิกเกิลออกไซด์เป็นตัวกลางในการดูดซับ แบ่งการทดลองเป็นแบบทีละเทและแบบต่อเนื่องโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเป็นตัวแทนของน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ ผลการทดลองแบบทีละเทพบว่า ในกรณีน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียวหรือสังกะสีอย่างเดียว นิกเกิลออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดูดซับมากกว่าอะลูมินา แต่ค่าความสามารถในการดูดซับของตัวกลางทั้งสองชนิดมีค่าต่ำมาก ทำให้อะลูมินาและนิกเกิลออกไซด์ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ดูดซับไซยาไนด์อย่างเดียวหรือสังกะสีอย่างเดียว ส่วนในกรณีที่น้ำเสียสังเคราะห์ประกอบด้วยไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสี นิกเกิลออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีมากกว่าอะลูมินา ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นสังกะสีที่เพิ่มสูงขึ้น ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีที่อัตราส่วนไซยาไนด์ : โครเมียม : สังกะสี เท่ากับ 100:20:100 มีค่า 11.00 มก./ก. และ 18.50 มก./ก. ตามลำดับ ปริมาณไซยาไนด์ที่มากเกินพอมีผลรบกวนการดูดซับสารประกอบเชิงซ้อนสังกะสีไซยาไนด์ ทำให้ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีลดลง ที่สภาวะสมดุลสัดส่วนโมลไซยาไนด์ต่อสังกะสีที่ถูกดูดซับบนนิกเกิลออกไซด์เป็นไปตามรูปของสารประกอบเชิงซ้อนสังกะสีไซยาไนด์ที่มีในระบบ โดยที่อัตราส่วนไซยาไนด์:โครเมียม:สังกะสี เท่ากับ 50:20:100 มีค่า 1:1 อัตราส่วน 100:20:100 มีค่า 1.5:1 และอัตราส่วน 200:20:100 มีค่า 3:1 ตามลำดับ ผลการทดลองแบบต่อเนื่องพบว่า นิกเกิลออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีมากกว่าอะลูมินา ที่อัตราการไหล 8 และ 4 มิลลิลิตรต่อนาที พบว่า เวลาสัมผัสที่มากขึ้นมีผลให้ความสามารถในการดูดซับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อัตราส่วนไซยาไนด์:โครเมียม:สังกะสี เท่ากับ 100:20:100 ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีที่อัตราการไหล 8 มล./นาที มีค่า 10.90 มก./ก. และ 17.80 มก./ก. และอัตราการไหล 4 มล./นาที มีค่า 12.83 มก./กและ 21.17 มก./ก.ความเข้มข้นไซยาไนด์ที่มากเกินพอมีผลรบกวนการดูดซับสารประกอบเชิงซ้อนสังกะสีไซยาไนด์ ทำให้ความสามารถในการดูดซับไซยาไนด์และสังกะสีลดลง ที่จุดเบรคทรูสันส่วนโมลไซยาไนด์ต่อสังกะสีที่ถูกดูดซับบนนิกเกิลออกไซด์เป็นไปตามรูปของสารประกอบเชิงซ้อนสังกะสีไซยาไนด์ที่มีในระบบ ซึ่งอัตราส่วนต่างๆ มีค่าใกล้เคียงกับการทดลองแบบทีละเท |
บรรณานุกรม | : |
ภาคย์ ชาตรี . (2548). การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาคย์ ชาตรี . 2548. "การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาคย์ ชาตรี . "การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ภาคย์ ชาตรี . การดูดซับไซยาไนด์ โครเมียมและสังกะสีจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้อะลูมินาที่เคลือบผิวด้วยนิกเกิล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|