ชื่อเรื่อง | : | ผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สามโดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk |
นักวิจัย | : | กฤติกา ทองสมบัติ |
คำค้น | : | น้ำเสียชุมชน , น้ำเสีย -- การบำบัด , พื้นที่ชุ่มน้ำ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กนกพร บุญส่ง , สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741754639 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4520 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การศึกษาผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สาม โดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ แบ่งชุดทดลองตามปัจจัยต่างๆ 4 ปัจจัย คือ ระยะเวลากักเก็บน้ำเสีย (5, 7 และ 10 วัน) ระยะเวลาปล่อยให้แห้ง (3, 5 และ 7 วัน) ชนิดดิน (ดินเลน และดินเลน : ทราย (1:1)) และชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และชุดควบคุมที่ไม่ปลูกพืช ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้ง 4 มีผลต่อความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่และชุดควบคุมที่ไม่ปลูกพืช ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้ง 4 มีผลต่อความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนมีระยะเวลากักเก็บน้ำ 10 วันปล่อยให้แห้ง 7 วัน สามารถบำบัดทีเคเอ็น แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสทั้งหมดและออร์โธฟอสเฟตได้ดีที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การบำบัด 95.96, 98.49, 77.75 และ77.71% ตามลำดับ และชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนมีระยะเวลากักเก็บน้ำ 7 วันปล่อยให้แห้ง 5 วัน มีเปอร์เซ็นต์การบำบัดบีโอดีสูงสุด คือ 95.39% สำหรับปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด มีเปอร์เซ็นต์การบำบัดสูงสุด คือ 94.20% ในชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลน : ทรายที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 7 วันปล่อยให้แห้ง 3 วัน อย่างไรก็ตามในการเลือกรูปแบบทดลองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ควรเลือกชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนมีระยะเวลากักเก็บน้ำ 7 วันปล่อยให้แห้ง 5 วัน เพราะที่ระยะเวลากักเก็บน้ำ 10 วันกล้าไม้โกงกางใบใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำที่สุด ด้านสมบัติของดิน พบว่าปริมาณทีเคเอ็นและฟอสฟอรัสทั้งหมด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในดินเบนจะมีปริมาณสูงกว่าในดินเลน : ทราย ส่วนปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน เพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และไม่มีความแตกต่างระหว่างชนิดดิน ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจนลดลงภายหลังการทดลองและไม่มีความแตกต่างระหว่างชนิดดิน การศึกษาค่า E[subscript H] ในดิน ทำการวัดค่าที่ 2, 7 และ 10 ซ.ม. จากผิวดิน พบว่าในช่วงการกักเก็บน้ำ ค่า E[subscript H] ลดลงเมื่อระยะเวลากักเก็บน้ำและระดับความลึกจากผิวดินเพิ่มขึ้น ในช่วงระยะเวลาปล่อยให้แห้งค่า E[subscript H] เพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาปล่อยให้แห้งเพิ่มขึ้นและลดลงตามระดับความลึกจากผิวดินที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าทั้งหมดไม่แตกต่างกันมากนัก ชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ และชุดดินเลน : ทรายจะมีค่า E[subscript H] สูงกว่าชุดควบคุม และชุดดินเลน ตามลำดับ สำหรับการศึกษากล้าไม้ พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตทางความสูง สูงที่สุดในดินเลน ที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 3 วัน และมีปริมาณทีเคเอ็นเพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการปลูกกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ในดินเลนของระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำและระยะเวลาปล่อยให้แห้งที่เหมาะสม จะให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียชุมชนสูง |
บรรณานุกรม | : |
กฤติกา ทองสมบัติ . (2546). ผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สามโดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กฤติกา ทองสมบัติ . 2546. "ผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สามโดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กฤติกา ทองสมบัติ . "ผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สามโดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. กฤติกา ทองสมบัติ . ผลของสภาพน้ำขังสลับแห้งต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนขั้นที่สามโดยพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมโกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Lamk. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|