ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาและสร้างกังหันลมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพและเก็บข้อมูลทางด้านสมรรถนะ และโครงสร้างของกังหันลม : รายงานฉบับสมบูรณ์ |
นักวิจัย | : | สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ |
คำค้น | : | กังหันลม--การออกแบบและการสร้าง , พลังงานลม , โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
ปีพิมพ์ | : | 2538 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2185 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | อากาศพลศาสตร์ของกังหันลม : พลังงานที่สามารถดึงออกจากลม ; ทฤษฎีโมเมนตัมตามแนวแกน ; ทฤษฎีลำอากาศหมุน ; ทฤษฎีอีลีเมนท์ของใบ ; ทฤษฎีสตริป ; รูปร่างของใบกังหันลมที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในเชิงอากาศพลศาสตร์ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการออกแบบใบกังหันลม ในรายงานนี้จะครอบคลุมถึงการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำนายรูปร่างใบกังหันที่มีประสิทธิภาพเชิงอากาศพลศาสตร์สูงสุด และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำนายสมรรถนะและค่าความเค้นของกังหันลมแนวนอนชนิด 3 ใบ รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และยังครอบคลุมถึงการศึกษาและสร้างกังหันลมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพและทำการทดลองเก็บข้อมูลทางด้านสมรรถนะ และโครงสร้างของกังหันลมที่ได้ออกแบบ และนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบกับผลเฉลยจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กังหันลมสองชุดถูกสร้างขึ้น และทำการทดลองกับอุโมงค์ลมและโดยติดตั้งบนรถที่เคลื่อนที่ การทดลองหาค่าสมรรถนะและทดลองหาค่าความเค้น กระทำในเวลาที่ต่างกันมากพอควร และด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันดัวย ผลการทดลองถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลเฉลยของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันความแม่นยำของโปรแกรม ค่าสมรรถนะในรูปของสัมประสิทธิ์กำลังผลเฉลยของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้พิจารณาผลของตัวเลขเรย์โนล์ด้วยนั้น มีค่าใกล้เคียงกับผลการทดลองกับอุโมงค์ลม และยังพบว่าความแม่นยำของผลเฉลยจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นกับความแม่นยำ และความสมบูรณ์ของข้อมูลอากาศพลศาสตร์ของรูปภาคตัดขวางใบกังหันลมตลอดช่วงการทำงาน รวมทั้งข้อมูลในช่วงสภาวะ Stall อย่างมาก สำหรับค่าความเค้นของกังหันลม พบว่ามีความแตกต่างระหว่างผลการทดลองกับผลเฉลยจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก โดยเฉพาะความเค้นจากโมเมนต์ดัดอันเนื่องมาจากแรงอากาศพลศาสตร์ สาเหตุของความแตกต่างน่ามาจากความคลาดเคลื่อนของผลการทดลอง ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนหลายประการของการวัด เครื่องมือวัด และตัวอุโมงค์ลมที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง สำหรับกังหันลมต้นแบบที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างที่ให้ประสิทธิภาพเชิงอากาศพลศาสตร์สูงนั้น พบว่าจะให้ค่ากำลังสูงตามทฤษฎีก็ต่อเมื่อถูกทำงานภายใต้ตัวเลขเรย์โนลด์ที่สูงพอที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อค่าแรงหน่วงบนใบกังหัน หรืออีกนัยหนึ่งต้องมีขนาดของกังหันลม (ความยาวใบและความกว้างใบ) ใหญ่และทำงานภายใต้ความเร็วลมที่สูงพอ |
บรรณานุกรม | : |
สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ . (2538). การศึกษาและสร้างกังหันลมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพและเก็บข้อมูลทางด้านสมรรถนะ และโครงสร้างของกังหันลม : รายงานฉบับสมบูรณ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ . 2538. "การศึกษาและสร้างกังหันลมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพและเก็บข้อมูลทางด้านสมรรถนะ และโครงสร้างของกังหันลม : รายงานฉบับสมบูรณ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ . "การศึกษาและสร้างกังหันลมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพและเก็บข้อมูลทางด้านสมรรถนะ และโครงสร้างของกังหันลม : รายงานฉบับสมบูรณ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538. Print. สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ . การศึกษาและสร้างกังหันลมต้นแบบที่มีประสิทธิภาพและเก็บข้อมูลทางด้านสมรรถนะ และโครงสร้างของกังหันลม : รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
|