ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ตามความต้องการการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน |
นักวิจัย | : | นงนุช วังชัยศรี, 2515- |
คำค้น | : | พยาบาล , การจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์) , กำลังคน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จินตนา ยุนิพันธุ์ , สุวิณี วิวัฒน์วานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741734379 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1871 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะเป็นตามความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วย และศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ในหอ ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ 1) บุคลากรทางการพยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในระหว่างการเก็บข้อมูล ได้แก่ พยาบาลประจำการ 11 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน 2) ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย1 ระหว่างการเก็บข้อมูล โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 ประเภท คือ ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลมากที่สุด ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลมาก ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลปานกลาง และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเล็กน้อย และ 3) ผู้บริหารทางการพยาบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ จัดอัตรากำลังในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยชุดที่1 แบบบันทึกข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วย และคู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ชุดที่2 แบบบันทึกกิจกรรมพยาบาล และคู่มือกิจกรรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกต 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ ชุดที่3 แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการนำผลการวิจัยไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยประเภทที่ 1, 2, 3 และ 4 ใน 24 ชั่วโมง เท่ากับ 6.25 ชั่วโมง, 5.32 ชั่วโมง, 3.24 และ 2.56 ชั่วโมง ตามลำดับ คำนวณโดยใช้แนวคิดการจัดอัตรากำลังของกองการพยาบาล (2545) ได้จำนวนพยาบาลที่ต้องการ คือ พยาบาลประจำการ 10 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 9 คน โดยในเวรเช้า ต้องการพยาบาลประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรบ่าย ต้องการพยาบาลประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรดึก ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรหยุด ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 3 คน และคำนวณอัตรากำลังตามแนวคิดของ Swansburg (1996) ได้จำนวนพยาบาลที่ต้องการ คือ พยาบาลประจำการ 10 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 10 คน โดยในเวรเช้า ต้องการพยาบาลประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรบ่าย ต้องการพยาบาล ประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรดึก ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรหยุด ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน 2. ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดอัตรากำลังของหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน มีความเห็นด้วยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการบริหารจัดการด้านอัตรากำลังของหน่วยงานต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
นงนุช วังชัยศรี, 2515- . (2546). การศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ตามความต้องการการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นงนุช วังชัยศรี, 2515- . 2546. "การศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ตามความต้องการการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นงนุช วังชัยศรี, 2515- . "การศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ตามความต้องการการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. นงนุช วังชัยศรี, 2515- . การศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ตามความต้องการการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|