ชื่อเรื่อง | : | ความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองและผู้ให้การดูแล |
นักวิจัย | : | สุนันทา ทองพัฒน์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=58057 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลและการได้รับความ ช่วยเหลือที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง และผู้ให้การดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มารับการตรวจรักษาที่คลีนิค โรคไต แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2540 และผู้ให้การดูแล จำนวนกลุ่มละ 64 ราย ซึ่งได้รับการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ป่วยและผู้ให้การดูแล แบบวัดความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือของ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง รวมทั้งแบบวัดความต้องการการดูแลและการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังตามการรับรู้ของผู้ให้การดูแล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของ ลัคกี้ย์และวินเกท (Wingate and Lackey, 1989) นำแบบวัดทั้งสองไปหาความเที่ยงตรงด้าน เนื้อหาโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแล้ว และนำไปหาความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความต้องการการดูแลและการได้รับความ ช่วยเหลือของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเท่ากับ 0.92 และแบบวัดความต้องการการดูแลและการให้ ความช่วยเหลือผู้ป่วยไตวายเรื้อรังตามการรับรู้ของผู้ให้การดูแลเท่ากับ 0.95 ผลการวิจัยพบว่า 1. ตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง พบว่า1.1 ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อ พิจารณาพบว่าด้านการจัดการภายในบ้านอยู่ในระดับมาก ด้านจิตใจและด้านข่าวสารอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนด้านร่างกาย จิตวิญญาณและด้านกฎหมายและการเงินอยู่ในระดับน้อย1.2 การได้รับความช่วยเหลือของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาพบว่าด้านการจัดการภายในบ้านอยู่ในระดับมาก ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้าน ข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านจิตวิญญาณและด้านกฎหมายและการเงินอยู่ในระด้บน้อย1.3 ความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดย รวมไม่มีความแตกต่างกัน แต่การได้รับความช่วยเหลือด้านร่างกาย ด้านการจัดการภายในบ้าน ด้านกฎหมายและการเงินสูงกว่าความต้องการการดูแล 2. ตามการรับรู้ของผู้ให้การดูแล พบว่า2.1 ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังตามการรับรู้ของผู้ให้การดูแล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านกฎหมายและการเงินเท่านั้นที่อยู่ในระดับน้อย2.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยไตวายเรื้อรังตามการรับรู้ของผู้ให้การดูแลโดย รวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้าน กฎหมายและการเงินเท่านั้นที่อยู่ในระดับน้อย 3. ความต้องการการดูแลตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและผู้ให้การดูแลโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ในด้านร่างกายและด้านจิตใจผู้ให้การดูแลรับรู้ความต้องการการดูแล ของผู้ป่วยสูงกว่าการรับรู้ของผู้ป่วย 4. การได้รับความช่วยเหลือของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ของผู้ให้การดูแลโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านร่างกายและด้านจิตใจ ผู้ให้การดูแล รับรู้ว่าให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยสูงกว่าที่ผู้ป่วยรับรู้การได้รับความ ช่วยเหลือ |
บรรณานุกรม | : |
สุนันทา ทองพัฒน์ . (2540). ความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองและผู้ให้การดูแล.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สุนันทา ทองพัฒน์ . 2540. "ความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองและผู้ให้การดูแล".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. สุนันทา ทองพัฒน์ . "ความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองและผู้ให้การดูแล."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2540. Print. สุนันทา ทองพัฒน์ . ความต้องการการดูแลและการได้รับความช่วยเหลือที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองและผู้ให้การดูแล. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2540.
|