ชื่อเรื่อง | : | การเตรียมไฮโดรเจลที่ประกอบด้วยชั้นของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และชั้นของไคโตซานโดยการฉายรังสีแกมมาเพื่อใช้เป็นเจลปิดรักษาบาดแผล |
นักวิจัย | : | อัฑฒ์ สุวรรณวงศ์, 2523- |
คำค้น | : | คอลลอยด์ , เจล (ยา) , ไคโตแซน , โพลิไวนิลแอลกอฮอล์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชยากริต ศิริอุปถัมภ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766394 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1666 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ได้ทดลองเตรียมไฮโดรเจลที่ประกอบด้วยชั้นของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ (พีวีเอ) และชั้นของไคโตซานโดยการฉายรังสีแกมมาเพื่อใช้เป็นเจลปิดรักษาบาดแผล ชั้นบนของไฮโดรเจลเป็นไคโตซานไฮโดรเจล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ ไฮโดรเจลชั้นล่างเป็นพีวีเอไฮโดรเจล มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการดูดซับน้ำ ไฮโดรเจลทั้งสองใช้เทคนิคการแช่แข็งและปล่อยให้ละลายก่อนนำไปฉายรังสีแกมมาเพื่อช่วยให้โพลิเมอร์ทั้งสองเกิดการครอสลิงค์ดีขึ้น ในการใช้ไฮโดรเจลนี้ปิดรักษาแผลจะใช้ส่วนที่สัมผัสกับแผลเป็นชั้นของไคโตซานไฮโดรเจล ผลการทดลองได้ส่วนประกอบที่เหมาะสมของไฮโดรเจลจากไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุล 100,000 ดอลตัน มีความเข้มข้นในกรดอะซีติก 1% เป็น 60% และพีวีเอไฮโดรเจลจาก 30% (w/v) พีวีเอในน้ำ ที่ปริมาณรังสี 25 กิโลเกรย์ ไคโตซานและพีวีเอมีความต้านทานแรงกดของไฮโดรเจลรวมเท่ากับ 1.1 นิวตัน โดยไคโตซานมีความเป็นเจลและมีค่าการบวมในน้ำเท่ากับ 38.8% และ 260% ตามลำดับ ส่วนพีวีเอเท่ากับ 81.5% และ 2748% ตามลำดับ ผลการทดสอบการต้านทานการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์โดยวัดจากจำนวนโคโลนีของเชื้อ E.coli, เชื้อ S.aureus และเชื้อ C.albicans ที่เจริญเติบโตในไฮโดรเจล พบว่าชั้นของไคโตซานมีความสามารถในการต้านทานเชื้อ E.coli, เชื้อ S.aureus และเชื้อ C.albicans ได้ 100% ส่วนชั้นของพีวีเอมีความสามารถในการต้านทานเชื้อ E.coli, เชื้อ S.aureus และเชื้อ C.albicans เท่ากับ 10.61%, 42.45% และ 100% ตามลำดับ ไฮโดรเจลที่เตรียมได้มีความนิ่ม มีความสามารถฆ่าเชื้อโรค และดูดซับของเหลวจากแผลได้ดีมาก ในการวิจัยได้ทำการศึกษาโครงสร้างของไคโตซานไฮโดรเจลโดย FT-IR และพบว่าการเกิดครอสลิงค์ในไคโตซานด้วยรังสีแกมมามีความเป็นไปได้จะเกิดที่หมู่อะเซตตาไมด์ |
บรรณานุกรม | : |
อัฑฒ์ สุวรรณวงศ์, 2523- . (2547). การเตรียมไฮโดรเจลที่ประกอบด้วยชั้นของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และชั้นของไคโตซานโดยการฉายรังสีแกมมาเพื่อใช้เป็นเจลปิดรักษาบาดแผล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัฑฒ์ สุวรรณวงศ์, 2523- . 2547. "การเตรียมไฮโดรเจลที่ประกอบด้วยชั้นของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และชั้นของไคโตซานโดยการฉายรังสีแกมมาเพื่อใช้เป็นเจลปิดรักษาบาดแผล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัฑฒ์ สุวรรณวงศ์, 2523- . "การเตรียมไฮโดรเจลที่ประกอบด้วยชั้นของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และชั้นของไคโตซานโดยการฉายรังสีแกมมาเพื่อใช้เป็นเจลปิดรักษาบาดแผล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. อัฑฒ์ สุวรรณวงศ์, 2523- . การเตรียมไฮโดรเจลที่ประกอบด้วยชั้นของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และชั้นของไคโตซานโดยการฉายรังสีแกมมาเพื่อใช้เป็นเจลปิดรักษาบาดแผล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|