ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยข้อขัดข้องระบบทำความเย็น |
นักวิจัย | : | ชัยรัตน์ กิตติธรรมโรจน์, 2522- |
คำค้น | : | ระบบผู้เชี่ยวชาญ (คอมพิวเตอร์) , การทำความเย็นและเครื่องทำความเย็น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิตรา รู้กิจการพานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759169 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1493 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยสาเหตุข้อขัดข้อง สำหรับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องอัดน้ำยาชนิดลูกสูบและชนิดสกรู หลังจากการวินิจฉัยเพียงประสบการณ์ถ้าวิศวกรไม่สามารถแก้ไขข้อขัดข้องได้ เพราะยังไม่มีวิธีแก้ไขข้อขัดข้องที่เหมาะสม ทำให้ลูกค้าเกิดความรอคอย ลดระดับความพึงพอใจ หรือสูญเสียโอกาสในการทำงานได้ ในงานวิจัยนี้จึงทำให้การวินิจฉัยมีความรวดเร็ว ความถูกต้อง และความเหมาะสมกับปัญหาระบบผู้เชี่ยวชาญนี้แบ่งฐานความรู้ได้ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 คืออาการผิดปรกติแบ่งตามส่วนของระบบที่เกิดความผิดปรกติเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเครื่องอัดน้ำยา กลุ่มความดัน กลุ่มอุณหภูมิ กลุ่มน้ำมันหล่อลื่น และกลุ่มอื่นๆ โดยจำนวนอาการผิดปรกติของระบบทำความเย็นที่ใช้เครื่องอัดน้ำยาชนิดลูกสูบมี 23 อาการ และชนิดสกรูมี 21 อาการ ฐานที่ 2 คือสาเหตุที่เสียซึ่งแบ่งตามส่วนของระสาเหตุที่เสียเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไฟฟ้า-เมน กลุ่มไฟฟ้า-ข้อต่อ กลุ่มเครื่องควบคุมอัตโนมัติ กลุ่มน้ำมันหล่อลื่น กลุ่มน้ำยาทำความเย็น กลุ่มคอนเดนเซอร์ กลุ่มเอ็กซ์เปนชั่นวาล์ว กลุ่มเครื่องอัดน้ำยา และกลุ่มอื่นๆ โดยจำนวนสาเหตุที่เสียของระบบทำความเย็นที่ใช้เครื่องอัดน้ำยาชนิดลูกสูบมี 61 สาเหตุ และชนิดสกรูมี 47 สาเหตุ ฐานที่ 3 คือความสัมพันธ์ระหว่างอาการผิดปรกติกับสาเหตุที่เสีย โดยนำอาการผิดปรกติจากฐานที่ 1 และสาเหตุที่เสียจากฐานที่ 2 มาจับคู่ความสัมพันธ์แบบ 1:M (One to Many) โดยจำนวนความสัมพันธ์ อาการ-สาเหตุ ของเครื่องอัดน้ำยาชนิดลูกสูบมี 236 แบบ และชนิดสกรูมี 93 แบบ และฐานสุดท้าย คือการตรวจสอบและการแก้ไขที่สัมพันธ์กับสาเหตุที่เสียซึ่งอยู่ในฐานที่ 2 ในส่วนของการดำเนินงานศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่หนึ่งเริ้มจากการแสวงหาความรู้จากหนังสือคู่มือ ผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลสถิติอาการ-สาเหตุ แล้วทบทวนและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง ระยะที่สองเริ่มจากการออกแบบการแสดงาความรู้ จนถึงได้ระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยข้อขัดข้องของระบบทำความเย็น พร้อมทั้งตรวจสอบการใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญ และพิสูจน์ความถูกต้องของโปรแกรมจำนวน 20 กรณี ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ถูกพัฒนาโดยใช้โปรแกรม Ms Access เป็นส่วนเก็บฐานข้อมูลไว้เป็นฐานความรู้สถิต และใช้การโปรแกรมด้วยภาษาเดลไฟ (Delphi) เป็นส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานโดยใช้กลไกการวินิจฉัยแบบย้อนกลับ |
บรรณานุกรม | : |
ชัยรัตน์ กิตติธรรมโรจน์, 2522- . (2547). การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยข้อขัดข้องระบบทำความเย็น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชัยรัตน์ กิตติธรรมโรจน์, 2522- . 2547. "การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยข้อขัดข้องระบบทำความเย็น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชัยรัตน์ กิตติธรรมโรจน์, 2522- . "การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยข้อขัดข้องระบบทำความเย็น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ชัยรัตน์ กิตติธรรมโรจน์, 2522- . การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับวินิจฉัยข้อขัดข้องระบบทำความเย็น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|