ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารในช่วงการออกแบบ |
นักวิจัย | : | มงคล ฉันท์ไพศาล, 2521- |
คำค้น | : | แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ , ความจริงเสมือน , การออกแบบสถาปัตยกรรม , วีอาร์เอ็มแอล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต ธงทอง , ไตรรัตน์ จารุทัศน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741713479 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1349 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) มาสร้างแบบจำลองเสมือนจริงสำหรับใช้ในงานก่อสร้างในช่วงการออกแบบ โดยมุ่งเน้นการศึกษาผลจากการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการออกแบบอาคารบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จากกรณีศึกษา "โครงการสร้างตึกครอบอาคารปฏิบัติการเจริญวิศวกรรม" ซึ่งเป็นอาคารที่มีข้อจำกัดในด้านการออกแบบและก่อสร้างหลายประการ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการศึกษาประโยชน์ ข้อจำกัดและแนวทางแก้ไขข้อจำกัดของการใช้แบบจำลองเสมือนจริงเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างการดำเนินงานในช่วงการออกแบบ ศึกษาผลของการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารระหว่างการกลุ่มของผู้ออกแบบแนะนำการพัฒนาระบบและการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองเสมือนจริงในงานก่อสร้าง รวมทั้งการนำเสนอขั้นตอนในการใช้แบบจำลองเสมือนจริงตั้งแต่การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ การสร้างแบบจำลองเสมือนจริงและการประยุกต์ใช้แบบจำลองเสมือนจริงเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนำแบบจำลองเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้ในช่วงการออกแบบสามารถช่วยให้ผู้ร่วมงานมองเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างก่อสร้างได้อย่างชัดเจน และช่วยในการสื่อสารระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เนื่องจากช่วยให้ผู้ร่วมงานเข้าใจผลการออกแบบได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำข้อมูลแบบ 3 มิติไปเชื่อมโยงกับการพิจารณาในประเด็นอื่น ๆ แต่แบบจำลองเสมือนจริงมีข้อจำกัดด้านการแสดงรายละเอียดของข้อมูลด้านระยะ (Dimension) และไม่สามารถแสดงสภาพความเป็นจริงทั้งหมดได้ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของแบบจำลองเสมือนจริงงานวิจัยนี้ได้เสนอรูปแบบการใช้เครื่องมือแบบผสมผสานซึ่งประกอบด้วยแบบจำลองเสมือนจริง แบบ 2 มิติและภาพถ่ายแบบดิจิตอล ผลจากการประยุกต์ใช้พบว่าสามารถแก้ไขข้อจำกัดของแบบจำลองเสมือนจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
บรรณานุกรม | : |
มงคล ฉันท์ไพศาล, 2521- . (2545). การศึกษาการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารในช่วงการออกแบบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มงคล ฉันท์ไพศาล, 2521- . 2545. "การศึกษาการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารในช่วงการออกแบบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มงคล ฉันท์ไพศาล, 2521- . "การศึกษาการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารในช่วงการออกแบบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. มงคล ฉันท์ไพศาล, 2521- . การศึกษาการใช้แบบจำลองเสมือนจริงในการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารในช่วงการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|