ชื่อเรื่อง | : | การลดของเสียในการผลิตชุดวงจรควบคุมการปรับโฟกัสอัตโนมัติสำหรับประกอบในกล้องถ่ายรูปอัตโนมัติแบบใช้ฟิล์ม |
นักวิจัย | : | ภูริพัฒน์ ภูริวรางกูร, 2519- |
คำค้น | : | การควบคุมความสูญเปล่า , กล้องถ่ายรูป , อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิตรา รู้กิจการพานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741797923 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1332 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 เนื่องจากสภาวะปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ชุดวงจรควบคุมการปรับโฟกัสอัตโนมัติสำหรับประกอบในกล้องถ่ายรูปอัตโนมิติแบบใช้ฟิล์ม (Auto Focus unit) รุ่น AKF-1311 คือการที่มีมูลค่าความสูญเสียในด้านวัตถุดิบทางตรง (Scrap cost) เกิดขึ้นสูงมาก จึงสนใจที่จะทำการศึกษาเพื่อลดความสูญเสียในส่วนนี้ลง โดยการลดของเสียที่เกิดขึ้นในสายการผลิต โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์หาสาเหตุหลักต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียในสายการผลิต ลักษณะของสาเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นสรุปได้ดังนี้ 1). ความร้อนที่มากเกินไป ในขั้นตอนการบัดกรีทำให้ Auto Focus unit เกิดความเสียหายภายใน 2). ความบกพร่องของวิธีการในกระบวนการผลิต เมื่อทราบถึงสาเหตุต่างๆของปัญหา จึงทำการปรับปรุงแก้ไขจุดต่างๆในกระบวนการผลิตที่พบว่าเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความสูญเสีย จากผลของการปรับปรุงการผลิตเพื่อลดของเสียที่เกิดโดยการเปลี่ยนชนิดของตะกั่วบัดกรี ลดอุณหภูมิในการบัดกรี ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติแทนการทำงานด้วยคน ใช้อุปกรณ์เสริมในการประกอบ IRD เพิ่มขั้นตอนการตัดส่วนของขา PD ที่ยื่นออกมา เพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบแผ่นวงจรไอซีหลักก่อนนำมาประกอบในสายการผลิต กำหนดวิธีการทำงานในการบัดกรี R31 และ R32 อบ C1 ก่อนนำไปผ่านขั้นตอนการอบตะกั่ว สามารถลดสัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นในการผลิตจาก 7.3% เป็น 2.24% หรือลดลงเท่ากับ 69.31% ของกระบวนการผลิตเดิม จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลดของเสียที่เกิดขึ้นในการผลิต Auto Focus unit คือ การศึกษารายละเอียดของกระบวนการผลิตที่ออกแบบมาจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ศึกษาถึงสภาพความแตกต่างในด้านต่างๆ ของทางประเทศญี่ปุ่นกับทางประเทศไทย และการปรับเปลี่ยนหรือออกแบบวิธีการที่ใช้ในการผลิตเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการผลิตในประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสายการผลิต โดยมีสาเหตุมาจากการเลือกใช้วิธีการในการทำงานที่ไม่เหมาะสม และการมองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยที่สำคัญอันจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสายการผลิตได้ นอกจากนี้ การควบคุมปริมาณความร้อนจากการบัดกรีที่ Auto Focus unit จะได้รับจากการปฏิบัติงาน ให้มีความเหมาะสมและไม่ให้ก่อเกิดความเสียหายกับทุกชิ้นส่วนใน Auto Focus unit ซึ่งสิ่งที่จะกำหนดปริมาณความร้อนที่ใช้ในการบัดกรีคือ อุณหภูมิของหัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรีและระยะเวลาที่ทำการบัดกรี |
บรรณานุกรม | : |
ภูริพัฒน์ ภูริวรางกูร, 2519- . (2545). การลดของเสียในการผลิตชุดวงจรควบคุมการปรับโฟกัสอัตโนมัติสำหรับประกอบในกล้องถ่ายรูปอัตโนมัติแบบใช้ฟิล์ม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูริพัฒน์ ภูริวรางกูร, 2519- . 2545. "การลดของเสียในการผลิตชุดวงจรควบคุมการปรับโฟกัสอัตโนมัติสำหรับประกอบในกล้องถ่ายรูปอัตโนมัติแบบใช้ฟิล์ม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูริพัฒน์ ภูริวรางกูร, 2519- . "การลดของเสียในการผลิตชุดวงจรควบคุมการปรับโฟกัสอัตโนมัติสำหรับประกอบในกล้องถ่ายรูปอัตโนมัติแบบใช้ฟิล์ม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ภูริพัฒน์ ภูริวรางกูร, 2519- . การลดของเสียในการผลิตชุดวงจรควบคุมการปรับโฟกัสอัตโนมัติสำหรับประกอบในกล้องถ่ายรูปอัตโนมัติแบบใช้ฟิล์ม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|