ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาสมรรถนะของฝ้าเพดานทำความเย็น |
นักวิจัย | : | อายุส วัฒนวาณิชกร, 2521- |
คำค้น | : | ความร้อน -- การถ่ายเท , ฝ้าเพดาน , การปรับอากาศ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เชิดพันธ์ วิทูราภรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741724136 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1288 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ระบบปรับอากาศด้วยฝ้าเพดานทำความเย็นมีข้อดีหลายประการ เช่น เพิ่มระดับความสบายทางความร้อน ปราศจากเสียงรบกวน ลดภาระการทำความเย็นสูงสุด ให้ความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรม ลดปัญหาเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนในอากาศ และลดค่าก่อสร้างต่อชั้นของอาคาร ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ ระบบปรับอากาศด้วยฝ้าเพดานทำความเย็นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะในการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็น โดยในการทดลองจะมีตัวแปรที่พิจารณาคือ อุณหภูมิของน้ำเย็นที่จ่ายให้กับฝ้าเพดานทำความเย็น อัตราการไหลของน้ำเย็นที่จ่ายให้กับฝ้าเพดานทำความเย็น และภาระการทำความเย็นของฝ้าเพดานทำความเย็น จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิของน้ำเย็นที่จ่ายให้กับฝ้าเพดานทำความเย็นจะมีผลต่อระดับอุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น อุณหภูมิห้อง และอัตราการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็นที่สภาวะคงตัว โดยการจ่ายน้ำเย็นที่อุณหภูมิต่ำจะส่งผลให้อัตราการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็นที่สภาวะคงตัวเพิ่มสูงขึ้น และยังส่งผลให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น และอุณหภูมิห้องที่สภาวะคงตัวลดลงด้วย ในทางตรงกันข้ามจากผลการทดลองพบว่า อัตราการไหลของน้ำเย็นที่จ่ายให้กับฝ้าเพดานทำความเย็นไม่ส่งผลต่อระดับอุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น อุณหภูมิห้อง และอัตราการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็นที่สภาวะคงตัวอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ดีอัตราการไหลของน้ำเย็นจะมีผลต่อระยะเวลาในการเข้าสู่สภาวะคงตัวของอุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น อุณหภูมิห้อง และอัตราการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็น โดยที่การจ่ายน้ำเย็นให้กับฝ้าเพดานทำความเย็นที่อัตราการไหลสูง จะส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น อุณหภูมิห้อง และการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็นเข้าสู่สภาวะคงตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ภาระความร้อนยังมีผลต่อระดับอุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น และอุณหภูมิห้องที่สภาวะคงตัวด้วย โดยในกรณีทดลองที่มีภาระความร้อนสูง ระดับอุณหภูมิพื้นผิวของฝ้าเพดานทำความเย็น และอุณหภูมิห้องจะสมดุลที่อุณหภูมิสูงขึ้น จากผลการทดลองที่ได้ สามารถนำมาสร้างสมการเพื่อแสดงสมรรถนะในการถ่ายเทความร้อนของฝ้าเพดานทำความเย็น ที่สภาวะคงตัวได้ |
บรรณานุกรม | : |
อายุส วัฒนวาณิชกร, 2521- . (2545). การศึกษาสมรรถนะของฝ้าเพดานทำความเย็น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อายุส วัฒนวาณิชกร, 2521- . 2545. "การศึกษาสมรรถนะของฝ้าเพดานทำความเย็น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อายุส วัฒนวาณิชกร, 2521- . "การศึกษาสมรรถนะของฝ้าเพดานทำความเย็น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. อายุส วัฒนวาณิชกร, 2521- . การศึกษาสมรรถนะของฝ้าเพดานทำความเย็น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|