ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาแนวทางในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | นคร กกแก้ว, 2519- |
คำค้น | : | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง , การจัดการของเสีย , การควบคุมการผลิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต ธงทอง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741798571 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1234 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการทำงานเพื่อลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุจากการก่อสร้างงานอาคารของผู้รับเหมา โดยศึกษาหาสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัสดุเกิดความสูญเสียจากการใช้งานวัสดุและจากการจัดการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเสนอการทำงานในการลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม วิธีที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโครงการ 6 โครงการ เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของผู้รับเหมาในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในปัจจุบัน นอกจากนี้วิธีการ MATERIAL BALANCE ยังได้นำมาใช้ในการประมาณความสูญเสียของวัสดุสำคัญในการก่อสร้างงานอาคาร 4 ชนิด คือ คอนกรีต อิฐมอญ กระเบื้องปูพื้น และคอนกรีตบล็อก จาก 3 โครงการตัวอย่างโดยเลือกวัสดุที่มีความสูญเสียของวัสดุที่สูงมาศึกษาการใช้งานโดยวิธีการสังเกตการทำงาน (DIRECT SITE OBSERVATION) เพื่อระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัสดุที่ศึกษาเกิดความสูญเสีย และในงานวิจัยนี้ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อหาปัจจัยที่สำคัญ ที่มีผลต่อการเกิดความสูญเสียของวัสดุ เพื่อใช้ในประกอบการเสนอแนวทางในการทำงานเพื่อลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุก่อสร้าง ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของผู้รับเหมาะคือ การขาดการเก็บข้อมูลปริมาณความสูญเสียของวัสดุที่เป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถกำหนดแนวทางการทำงานเพื่อลดปริมาณความสูญเสียของวัสดุได้อย่างเหมาะสม และผลที่ได้จากการศึกษาหาปริมาณความสูญเสียของวัสดุทั้ง 4 ชนิดที่ศึกษาจากโครงการตัวอย่างพบว่า อิฐมอญ และคอนกรีตบล็อกมีปริมาณความสูญเสียที่สูง และจากการศึกษาการใช้งานวัสดุหน้างาน 3 ชนิดคือ อิฐมอญ กระเบื้องปูพื้น และคอนกรีตบล็อก พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้อิฐมอญมีโอกาสเกิดความสูญเสียมากมาจากการขาดความระมัดระวังในการขนย้าย และสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระเบื้องปูพื้นเกิดความสูญเสียมากคือการตัดขนาด ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้คอนกรีตบล็อกเกิดความสูญเสียมากคือ การขาดความระมัดระวังในการขนย้าย และการขาดการจัดการนำส่วนที่เหลือมาใช้งาน และผลที่ได้จากการวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อหาปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้วัสดุเกิดความสูญเสียคือ การเร่งงาน และการขาดประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน |
บรรณานุกรม | : |
นคร กกแก้ว, 2519- . (2545). การศึกษาแนวทางในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นคร กกแก้ว, 2519- . 2545. "การศึกษาแนวทางในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นคร กกแก้ว, 2519- . "การศึกษาแนวทางในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. นคร กกแก้ว, 2519- . การศึกษาแนวทางในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|