ชื่อเรื่อง | : | กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา |
นักวิจัย | : | เดชานนต์ มหาภาพ, 2518- |
คำค้น | : | การสื่อสาร , คนติดยาเสพติด--การรักษา , การโน้มน้าวใจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนวดี บุญลือ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741718691 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/976 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในกระบวนการฝึกอบรม, กลยุทธ์การสื่อสาร, และจิตวิทยาการสื่อสารในโครงการบำบัดยาเสพติด ปฏิบัติธรรมนำปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิทยากรที่เป็นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมผู้บำบัดยาเสพติด โดยมีผู้ให้ข้อมูลการวิจัยทั้งสิ้น 7 ท่าน พบว่า การสื่อสารในกระบวนการฝึกอบรม เป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่ที่มีลักษณะการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง ควบคู่กันไปโดยมีองค์ประกอบกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 1) ผู้ส่งสาร เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีบุคลิกเป็นที่น่าไว้วางใจ มีความเป็นกันเอง มีความสามารถและความชำนาญในด้านที่ตนเองรับผิดชอบสูง และมีประสบการณ์สูงในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด 2) สารหรือเนื้อหาที่นำมาอบรม มีเนื้อหาทางโลกและทางธรรมผสมกัน มีเนื้อหาที่ทันสมัย มีการเรียงลำดับสารไปตามขั้นตอนการบำบัด ล้างพิษยา-ล้างกาย-ล้างใจ-เตรียมออกสู่สังคม มีการปลุกเร้าอารมณ์ให้เกิดการต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มีการให้กำลังใจ มีการสอดแทรกบทเพลงหรือคำกลอนที่กินใจ มีการใช้จุดจูงใจในสารโดยใช้อารมณ์และใช้ความกลัวในการโน้มน้าวใจ 3) สื่อที่นำมาใช้ในการฝึกอบรมมีลักษณะเป็นสื่อผสม คือ สื่อบุคคล สื่อวิดีทัศน์ สื่อกิจกรรม และสื่อเพลง กลยุทธ์การสื่อสาร พบว่าวิทยากรได้นำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้ในการโน้มน้าวใจให้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดหลายกลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การพูดแบบทหาร กลยุทธ์การบรรยายโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง นำเปรียบเทียบและโยงเข้าสู่การสอน กลยุทธ์การใช้บทกลอนและคำคมในการพูดทิ้งท้ายคำคมให้คิด กลยุทธ์การใช้คำพูดเดิม เพื่อตอกย้ำความรู้สึกบ่อยๆ และให้พูดตามไปด้วย กลยุทธ์การให้รางวัล กลยุทธ์การสั่งสอน การสอดแทรกคำคม กลยุทธ์การใช้เพลงเป็นสื่อในการประกอบกิจกรรม กลยุทธ์การยึดหลัก "พรหมวิหาร 4" กลยุทธ์การใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพที่ดี กลยุทธ์การสอดแทรกสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ กลยุทธ์การใช้เกม กลยุทธ์การปฏิบัติธรรม กลยุทธ์การเลือกสื่อให้สอดคล้องกับสาระที่บรรยาย จิตวิทยาในกระบวนการสื่อสาร พบว่า วิทยากรใช้หลักจิตวิทยาในกระบวนการสื่อสารภายใต้กรอบจิตวิทยาการสื่อสารของผู้ส่งสาร ได้แก่ การมอบความรัก หลักการเมตตา หลักการมีระเบียบวินัย หลักความแข็งแรงของร่างกาย และการมีสมาธิ สติและปัญญา นอกจากนี้ยังใช้หลักจิตวิทยาในกระบวนการสื่อสาร ภายใต้กรอบจิตวิทยาวัยรุ่น ได้แก่ ความต้องการความรัก การดูแลเอาใจใส่และการเห็นอกเห็นใจจากผู้ใหญ่ ความต้องการการแสดงออกให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน การให้ความสำคัญกับเพื่อนมาก และการยึดมั่นในอุดมการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีปรัชญาชีวิตเป็นของตนเอง |
บรรณานุกรม | : |
เดชานนต์ มหาภาพ, 2518- . (2545). กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เดชานนต์ มหาภาพ, 2518- . 2545. "กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เดชานนต์ มหาภาพ, 2518- . "กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. เดชานนต์ มหาภาพ, 2518- . กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการเพื่อบำบัดยาเสพติดปฏิบัติธรรมนำปัญญา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|