ชื่อเรื่อง | : | การให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ |
นักวิจัย | : | ดวงดาว พันธ์พิกุล, 2517- |
คำค้น | : | โทรทัศน์เพื่อสุขศึกษา , สุขศึกษา , นโยบายสาธารณสุข--ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริชัย ศิริกายะ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741705689 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/870 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การศึกษาวิจัยเรื่อง "การให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์" นั้น ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง รูปแบบ วิธีการนำเสนอและเนื้อหาของรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ในการให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน บทบาทหน้าที่ของรายการ และปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตรายการเพื่อให้สุขศึกษาทางโทรทัศน์ โดยทำการศึกษารายการสุขภาพที่ผลิตโดยหน่วยงานภาครัฐ 6 รายการ จำนวนรวม 345 ตอน และรายการที่ผลิตโดยองค์กรผู้ผลิตรายการภาคเอกชน 6 รายการ รวม 472 ตอน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ของภาครัฐแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือสารคดี ละครและนิตยสารทางอากาศ ส่วนของภาคเอกชนมี 2 ประเภท คือ นิตยสารทางอากาศและสารคดี วิธีการนำเสนอรายการสุขภาคของภาครัฐและเอกชนแบ่งออกได้ 6 รูปแบบ ได้แก่ การบรรยายและการบรรยายสลับการสัมภาษณ์ การสนทนาสุขภาพ การสัมภาษณ์ความคิดเห็น ละคร การตอบคำถามผู้ชมรายการ และการสาธิต ในส่วนของเนื้อหาการให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาตินั้น พบว่า รายการของภาครัฐและเอกชนนำเสนอประเด็น "การกินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด" มากที่สุด และรายการสุขภาพของเอกชนนำเสนอเนื้อหาอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสุขบัญญัติจำนวนถึง 252 ตอน แบ่งประเด็นสุขภาพออกได้ 6 ด้าน ได้แก่ วิทยาศาสตร์การแพทย์ โรคกับการรักษา การประชาสัมพันธ์หน่วยงานสุขภาพ วันสำคัญหรือการรณรงค์สุขภาพ โรคกับกลุ่มคนวัยต่างๆ หรือโรคเฉพาะกลุ่ม และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป แนวคิดที่สะท้อนในรายการสุขภาพส่วนใหญ่เป็นแนวคิดเชิงป้องกันและควบคุม ส่วนแนวคิดเชิงการรักษาและฟื้นฟูพบในรายการสุขภาพของเอกชนมากกว่าของภาครัฐ สรุปได้ว่ารายการสุขภาพของภาครัฐและเอกชนได้ดำเนินการตามภาระหน้าที่ของสื่อได้อย่างครบถ้วน สำหรับปัจจัยที่พบว่ามีผลต่อการให้สุขศึกษาในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์นั้น พบว่า ภาครัฐและเอกชนมีปัญหาสำคัญคือเรื่องเงินทุนหรืองบประมาณ ทั้งนี้ ภาครัฐจะมีปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กรเป็นส่วนใหญ่ เช่นงบประมาณ การบริหารจัดการงบประมาณ ความต่อเนื่องการประชาสัมพันธ์ นโยบายผู้บริหาร ทักษะในการให้สุขศึกษาทางสื่อโทรทัศน์ และการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ในส่วนของภาคเอกชนนั้น พบว่าปัจจัยภายนอกองค์กรเป็นปัญหาสำคัญต่อการดำเนินงาน ได้แก่ เงินทุน ผู้สนับสนุนรายการ ระบบงานของภาครัฐ นโยบายของสถานีโทรทัศน์ และปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ข้อจำกัดของรายการสุขภาพ ทัศนคติของประชาชน และบุคลิกของรายการสุขภาพ |
บรรณานุกรม | : |
ดวงดาว พันธ์พิกุล, 2517- . (2544). การให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดวงดาว พันธ์พิกุล, 2517- . 2544. "การให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดวงดาว พันธ์พิกุล, 2517- . "การให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ดวงดาว พันธ์พิกุล, 2517- . การให้สุขศึกษาตามแนวนโยบายสุขบัญญัติแห่งชาติในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|