ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา |
นักวิจัย | : | ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ |
คำค้น | : | SUITABLE AREA , CONDOMINIUMS , GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM , POTENTIALSURFACE ANALYSIS |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082546000676 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยามีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการหาทำเลที่ตั้งอาคารชุดโดยคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยาซึ่งเป็นการสนับสนุนการใช้ที่ดินในเมืองพัทยาแบบเข้มเพื่อการอยู่อาศัย และเป็นแนวทางการศึกษาการขยายตัวของเมืองทางดิ่งประเภทหนึ่งด้วย วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจาก การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลกราฟิกและข้อมูลตามลักษณะของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับอาคารชุด ซึ่งอาคารชุดที่ศึกษานี้เป็นอาคารชุดพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงและมีพื้นที่อาคารรวมไม่เกิน 30,000 ตารางเมตรจากนั้นนำปัจจัยเหล่านั้นมาเข้าสู่ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic InformationSystem, GIS) เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์ศักย์เชิงพื้นที่(Potential Surface Analysis, PSA) โดยการกำหนดค่าตามลักษณะของปัจจัยแต่ละตัวด้วยค่าน้ำหนักและค่าคะแนนของปัจจัยตามมาตรา การประเมินที่ได้จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ศักย์เชิงพื้นที่ภายใต้ขีดความสามารถของโปรแกรมในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ แยกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ภายใต้โปรแรม ArcView 3.2 a และการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันทุกปัจจัยด้วยเทคนิคการวางซ้อน(Overlay Technique) ภายใต้มอดูลกริด (Grid Module) ของโปรแกรม Arc/Info 7.2.1เพื่อให้ได้ค่าคะแนนความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับอาคารชุดในเมืองพัทยาแลนำมาจัดลำดับความเหมาะสมของพื้นที่ใน 3 ระดับ คือ พื้นที่เหมาะสมมาก พื้นที่เหมาะสมปานกลางและพื้นที่เหมาะสมน้อย ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่เหมาะสมมากคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 33 ของพื้นที่เหมาะสมทั้งหมด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตำบลนาเกลือ เป็นเขตพาณิชยกรรมและเป็นศูนย์กลางธุรกิจของชุมชน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ และบริเวณรอบอ่าวพัทยาพื้นที่เหมาะสมปานกลางคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 62 ของพื้นที่เหมาะสมทั้งหมด ครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกตำบลของเมืองพัทยา ยกเว้นตำบลห้วยใหญ่ โดยพบว่า เป็นบริเวณใกล้ชายหาดตั้งแต่อ่าวพัทยาใต้ลงมาถึงหาดจอมเทียน และบริเวณติดถนนสายหลักและสายรองในเมืองสำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยจะกระจายอยู่ทั่วไปทุกตำบลคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 5 ของพื้นที่เหมาะสมทั้งหมด |
บรรณานุกรม | : |
ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . (2546). การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . 2546. "การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . "การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2546. Print. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2546.
|