ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 |
นักวิจัย | : | ดุสิต ทำดี, 2520- |
คำค้น | : | การนำนโยบายไปปฏิบัติ , ตำรวจนครบาล , โจรกรรมรถยนต์ , โจรกรรมรถยนต์--การป้องกัน , การป้องกันอาชญากรรม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นิเทศ ตินณะกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741764596 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/668 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ แนวทางในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ความเห็นต่อแนวทางการปราบปรามโจรกรรมรถยนต์ และปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติงานในกลุ่มสายงานป้องกันและปราบปรามในสถานีตำรวจของกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 สำหรับข้อมูลวิจัยได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มสายงานป้องกันและปราบปรามการในสถานีตำรวจของกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 180 คน โดยใช้แบบสอบถาม และในกลุ่มตัวอย่างนี้ได้เลือกสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกใช้การพรรณนา การศึกษาวิจัยมีสมมติฐาน ดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอายุราชการมาก จะปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอายุราชการน้อย 2. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีระดับต่ำแหน่งสูง จะปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีระดับตำแหน่งต่ำ 3. เจ้าหน้าที่มีอัตราเงินเดือนสูง จะปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีเงินเดือนต่ำ 4. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีงบประมาณเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน จะปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวมที่มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 5. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอัตรากำลังเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน จะปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอัตรากำลังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้เพียงพอต่อการปฏบัติงาน ยะปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ไม่เพียงพอต่อการปฏิบติงาน จากผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานทั้ง 6 ข้อ |
บรรณานุกรม | : |
ดุสิต ทำดี, 2520- . (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 6.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดุสิต ทำดี, 2520- . 2547. "ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 6".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดุสิต ทำดี, 2520- . "ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 6."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ดุสิต ทำดี, 2520- . ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ : ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 6. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|