ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์เชิงนโยบาย การก่อรูปและกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 |
นักวิจัย | : | สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล |
คำค้น | : | พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 , กฎหมายการศึกษา--ไทย , นโยบายศาสตร์ , นโยบายสาธารณะ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุทัย บุญประเสริฐ , สุวัฒน์ เงินฉ่ำ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745310603 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/451 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ที่ครอบคลุมกระบวนการก่อรูปของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในรัฐสภาของไทย จากการวิจัยพบว่า การก่อรูปของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีที่มาจากปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้สะสมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการออกพระราชบัญญัติฯ โดยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 81 เป็นจุดผลักดันที่ทำให้ต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาเกิดขึ้น และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ในกระบวนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯ พบว่ามีการนำข้อมูลสารสนเทศและงานวิจัยเชิงนโยบาย 42 เรื่อง ประกอบการพิจารณาบัญญัติมาตราต่างๆ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ถูกระทบจากพระราชบัญญัติ ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นและผลจากการมีส่วนร่วม ถูกนำมาปรับปรุงพระราชบัญญัติอย่างเป็นรูปธรรม บางครั้งได้ใช้กระบวนการเจรจาต่อรองและประสานประโยชน์ เมื่อมีความขัดแย้งทางความคิดเห็น นอกจากนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจอีก 2 ประเด็นที่ทำให้การก่อรูปครั้งนี้ประสบความสำเร็จคือ 1) ผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางการศึกษามีความจริงในในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2) ผู้ปฏิบัติงานได้อุทิศตัว ทุ่มเทแรงกาย แรงใจอย่างเต็มที่ ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาในรัฐสภาไทยนั้น ปรากฏว่าได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ที่มาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นร่างของรัฐสภา ร่วมกับอีก 4 ร่างจาก 4 พรรคการเมือง นอกจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ตามกระบวนการของรัฐสภาแล้ว ยังพบประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถสรุปเป็นบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ 4 ประเด็น คือ 1) การที่ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทำให้การทำงานง่ายขึ้น 2) การอภิปรายในสภาฯ อยู่บนหลักเหตุผล เนื่องจากมีงานวิจัยเชิงนโยบายมารองรับ ทำให้การชี้แจงมีน้ำหนักและชัดเจนมากขึ้น 3) แรงผลักดันทางการเมือง การที่ฝ่ายรัฐบาลให้การสนับสนุน ทำให้ร่าง พ.ร.บ. สามารถผ่านกระบวนการของรัฐสภาได้เร็วขึ้น และ 4) การยอมรับทางสังคม กระแสสังคมที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญ ส่งผลให้นักการเมืองต้องหันมาสนใจการศึกษามากขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล . (2547). การวิเคราะห์เชิงนโยบาย การก่อรูปและกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล . 2547. "การวิเคราะห์เชิงนโยบาย การก่อรูปและกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล . "การวิเคราะห์เชิงนโยบาย การก่อรูปและกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. สุรณี พิพัฒน์โรจนกมล . การวิเคราะห์เชิงนโยบาย การก่อรูปและกระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|