ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชน |
นักวิจัย | : | วันวิสาข์ แสงประชุม, 2521- |
คำค้น | : | ครูโรงเรียนเอกชน , โรงเรียนเอกชน , ลิสเรลโมเดล , ความผูกพันต่อองค์การ , ความพอใจในการทำงาน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริเดช สุชีวะ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745318299 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/433 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตรวจสอบความตรงในการอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา โมเดลสมมติฐานพัฒนาขึ้นโดยใช้ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮิร์ซเบิร์ก (Herberg's Tow-facter Theory) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในเขตภาคกลาง 31 โรงเรียน จำนวน 430 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝงที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร 4 ตัวแปร คือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยอนามัย และลักษณะส่วนบุคคล วัดตัวแปรแฝงได้จากตัวแปรที่สังเกตได้ 16 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงในการวัดจากตัวแปรที่สังเกตได้ตั้งแต่ 0.78-0.92 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมประกอบด้วย ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านปัจจัยจูงใจ (Motivating Factors) และปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน 2. โมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 26.832 p = 0.527 ที่องศาอิสระเท่ากับ 28 ค่า GFI เท่ากับ 0.990 ค่า AGFI เท่ากับ 0.971 และค่า RMR เท่ากับ 0.080 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 29.1 |
บรรณานุกรม | : |
วันวิสาข์ แสงประชุม, 2521- . (2547). การพัฒนาโมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันวิสาข์ แสงประชุม, 2521- . 2547. "การพัฒนาโมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันวิสาข์ แสงประชุม, 2521- . "การพัฒนาโมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. วันวิสาข์ แสงประชุม, 2521- . การพัฒนาโมเดลความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|