ชื่อเรื่อง | : | ไมโครเอนแคปซูเลชันและการปลดปล่อยแบบควบคุมของเมนทอลด้วยไคโทซาน |
นักวิจัย | : | สายัญ พันธ์สมบูรณ์ |
คำค้น | : | เมนทอล -- การควบคุมการปลดปล่อย , ไมโครเอนแคปซูเลชัน , ไคโตแซน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุดา เกียรติกำจรวงศ์ , วรวีร์ โฮเว่น , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31315 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 เตรียมไมโครอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำของเมนทอลขึ้นก่อนด้วยการปั่นกวนความเร็วรอบสูง 16,000 รอบต่อนาที โดยใช้ของผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ระหว่างสารลดแรงตึงผิวที่มีอัตราส่วนระหว่างส่วนที่ชอบน้ำและส่วนที่ไม่ชอบน้ำหรือเอชแอลบีต่ำ คือ พอลิออกซิเอทิลีน-2-สเตียริลอีเทอร์ (เอชแอลบี = 4.9) และสารลดแรงตึงผิวร่วมที่มีเอชแอลบีสูง คือ เซทิล-สเตียริลแอลกอฮอล์ (เอชแอลบี = 15) ทำไมโครอิมัลชันของเมนทอลที่เคลือบด้วยไคโทซาน ให้เป็นของแข็งผ่านการเชื่อมขวางโดยพันธะไอออนิกด้วยไทรพอลิฟอสเฟต (ทีพีพี) จากการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ขนาดด้วยการกระเจิงแสงเลเซอร์พบว่า ไมโครแคปซูล ที่เตรียมได้มีขนาดอยู่ในช่วง 0.5-40 ไมโครเมตร วิเคราะห์รูปร่างและสันฐานวิทยาของไมโครแคปซูลด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงส่องผ่าน ภาวะในการเตรียมที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ได้ไมโครแคปซูลที่มีเสถียรภาพและการกระจายขนาดที่แคบมีดังนี้คือ ความเร็วในการปั่นกวน 16,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 3 นาที ความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว 5.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก พีเอช 4.9 อัตราส่วนโดยโมลระหว่างไคโทซานและทีพีพี 2:1 เวลาในการปั่นเชื่อมขวาง 120 นาที และอัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างน้ำมันและไคโทซาน 8:1 ไมโครอิมัลชันที่มีไมโครแคปซูลบรรจุเมนทอลมีความเสถียรที่อุณหภูมิสูงประมาณ 40 องศาเซลเซียส ได้ถึง 3 รอบโคจรภายใต้สภาวะเฉือนคงตัว 1 พาสคัล ซึ่งยืนยันได้ด้วยค่า G/ และ G// จากการวัดด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีพบว่า ประสิทธิภาพในการกักเก็บเมนทอลในไมโครแคปซูลมีค่าประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเมนทอลที่กักเก็บในไมโครแคปซูลมีค่าเท่ากับ 2 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ปริมาณเมนทอลที่ปลดปล่อยออกมาแปรผันตามอัตราส่วนโดยโมลระหว่างไคโทซานและทีพีพีและอัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างน้ำมันและไคโทซาน ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 80 เปอร์เซ็นต์ และ 32 องศาเซลเซียส ปริมาณเมนทอลที่ปลดปล่อยโดยรวมอยู่ในช่วง 60-80 เปอร์เซนต์ จากภาพที่ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบเป็นไมโครแคปซูลที่เติมในผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชนิดไม่ต้องล้างออกเกาะติดอยู่บนเส้นผม นอกจากผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชนิดไม่ต้องล้างออกที่มีไมโครแคปซูลไคโทซาน-เมนทอลจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนให้กับเส้นผมแล้ว ยังช่วยทำให้เส้นผมนุ่มและหวีได้ง่ายขึ้นด้วย |
บรรณานุกรม | : |
สายัญ พันธ์สมบูรณ์ . (2550). ไมโครเอนแคปซูเลชันและการปลดปล่อยแบบควบคุมของเมนทอลด้วยไคโทซาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สายัญ พันธ์สมบูรณ์ . 2550. "ไมโครเอนแคปซูเลชันและการปลดปล่อยแบบควบคุมของเมนทอลด้วยไคโทซาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สายัญ พันธ์สมบูรณ์ . "ไมโครเอนแคปซูเลชันและการปลดปล่อยแบบควบคุมของเมนทอลด้วยไคโทซาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. สายัญ พันธ์สมบูรณ์ . ไมโครเอนแคปซูเลชันและการปลดปล่อยแบบควบคุมของเมนทอลด้วยไคโทซาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|