ชื่อเรื่อง | : | อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในองค์กร ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์ |
นักวิจัย | : | อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2508- |
คำค้น | : | การศึกษานอกระบบโรงเรียน , การเรียนรู้องค์การ , การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ , สภาพแวดล้อมการทำงาน , บุคลากรทางการแพทย์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อาชัญญา รัตนอุบล , สุชาดา บวรกิติวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741721978 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/321 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์ และเปรียบเทียบเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝง ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ 1 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 พยาบาลวิชาชีพ และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 เจ้าหน้าที่สนับสนุนงานการรักษาพยาบาล โดยมีกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 960 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 6 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด มี 6 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS for windows version 11.0 ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรมลิสเรล เวอร์ชั่น 8.10 และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์มี 5 ปัจจัยคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ในระดับสถาบัน ภูมิหลังส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในองค์กร 2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็น จากแบบสอบถามของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในเกณฑ์ดี โดยที่รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้ สามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการปฏิบัติงาน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ 2 และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ได้ร้อยละ 81.0, 70.0 และ 53.0 ตามลำดับ และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ 2 พยาบาลวิชาชีพ อยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด ด้วยค่าไค-สแควร์ = 120.52, p = 0.47, df = 120, GFI = 0.97, AGFI = 0.95 และ RMR = 0.10 3. ปัจจัยการเรียนรู้ด้วยตนเองมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุด ต่อการปฏิบัติงานของทั้งสามกลุ่มตัวอย่างโดยนัยคือ ถ้าพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ให้บริการทางการแพทย์อยู่ในระดับสูง จะมีผลทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามมาด้วย 4. ผลการเปรียบเทียบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ กับข้อมูลเชิงคุณภาพจาการสนทนากลุ่มของกลุ่มที่1 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร กลุ่มที่ 2 พยาบาล และกลุ่มที่ 3 ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเภสัชกร กลุ่มละ 7 คน พบว่า ทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นส่วนใหญ่สอดคล้องกับ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง |
บรรณานุกรม | : |
อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2508- . (2545). อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในองค์กร ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2508- . 2545. "อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในองค์กร ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2508- . "อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในองค์กร ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2508- . อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในองค์กร ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|