ชื่อเรื่อง | : | การตรวจสอบความเสียหายของเฟืองตรงด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติของสัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนเวลา |
นักวิจัย | : | ทรงพล กลิ่นชะเอม |
คำค้น | : | การสั่นสะเทือนเชิงกล , เฟือง , เครื่องจักรกล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิทยา ยงเจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22054 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเทคนิคการตรวจสอบความเสียหายของเฟืองตรงด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติของสัญญาณการสั่นสะเทือน เป็นการตรวจวัดเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกลที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องจักรกลหมุนที่มีเฟืองเป็นส่วนประกอบหลักของระบบส่งกำลัง การศึกษานี้ชุดเฟืองตรงจะถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์กระแสสลับ 3 เฟส 1.25 แรงม้าพร้อมชุดภาระขนาด 1.56 นิวตันเมตร ชุดเฟืองตรงของรถจักรยานยนต์ขนาด 125 ซีซีจะถูกจำลองที่เงื่อนไขต่างๆทั้งหมด 3 เฟือง โดยเฟืองที่หนึ่ง 28 ฟัน, เฟืองที่สอง 26 ฟันและฟันที่สาม 24 ฟัน โดยจำลองในเงื่อนไขดังนี้คือ ฟันเฟืองปกติ, ฟันเฟืองแตกหัก 50% 1 ฟัน, ฟันเฟืองแตกหัก 100% 1 ฟัน, และฟันเฟืองแตกหัก 50% 1 ฟันและ100% 1 ฟันบนเฟืองเดียวกัน สัญญาณการสั่นสะเทือนจะตรวจวัดจากหัววัดการสั่นสะเทือน ซึ่งติดตั้งอยู่ตามแนวแกนตั้ง แกนนอน และแกนเพลา พร้อมทั้งสัญญาณวัดรอบที่ตรวจวัดด้วย proximity switch สัญญาณการสั่นสะเทือนจะถูกวิเคราะห์ด้วยพารามิเตอร์เชิงสถิติ จากผลการทดลองพบว่า การวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนในแนวแกนตั้งจะให้ค่าที่ดีที่สุดสำหรับงานวิจัยนี้ และการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยพารามิเตอร์เชิงสถิติเพียงค่าเดียวสามารถทำนายสภาวะของเฟืองตรงได้แต่ไม่ชัดเจน แต่การวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยการแปรผันร่วมกันของพารามิเตอร์เชิงสถิติ 2 พารามิเตอร์ระหว่างค่าความโด่งและค่าพลังงานของสัญญาณสามารถทำนายและแยกสภาวะของเฟืองตรงได้ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับทุกพารามิเตอร์ที่ศึกษา โดยการสร้างขอบเขตการตัดสินใจของการแปรผันร่วมกันของพารามิเตอร์เชิงสถิติด้วยระดับความเชื่อมั่น 95 % ด้วยข้อมูลอ้างอิง 50 ชุดสามารถวิเคราะห์แบ่งแยกเงื่อนไขความเสียหายได้อย่างชัดเจนในกรณีที่ไม่มีภาระ และแบ่งแยกได้บางเงื่อนไขในกรณีที่มีภาระ นอกจากนี้ผลจากการทดสอบขอบเขตการตัดสินใจตามเงื่อนไขทั้งหมดด้วยข้อมูล 15 ชุดพบว่า มีค่าความถูกต้องแม่นยำที่ 86.67% และมีค่าความผิดพลาดที่ 13.33% |
บรรณานุกรม | : |
ทรงพล กลิ่นชะเอม . (2554). การตรวจสอบความเสียหายของเฟืองตรงด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติของสัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนเวลา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทรงพล กลิ่นชะเอม . 2554. "การตรวจสอบความเสียหายของเฟืองตรงด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติของสัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนเวลา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทรงพล กลิ่นชะเอม . "การตรวจสอบความเสียหายของเฟืองตรงด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติของสัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนเวลา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. ทรงพล กลิ่นชะเอม . การตรวจสอบความเสียหายของเฟืองตรงด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงสถิติของสัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนเวลา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|