ชื่อเรื่อง | : | การปรับปรุงทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551 |
นักวิจัย | : | ปิยะพันธ์ มั่นคง |
คำค้น | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาคาร , การบริหารทรัพยากรกายภาพ , อาคาร -- การบูรณะและการสร้างใหม่ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เสริชย์ โชติพานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16529 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 ในระยะเวลาที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีทั้งการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเพื่อรองรับการเรียนการสอน และจำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ในระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการปรับปรุงทางกายภาพเป็นจำนวนมาก และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ยังขาดการเก็บรวบรวมและทบทวนข้อมูลรูปแบบการปรับปรุงอาคารอย่างเป็นระบบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงการการปรับปรุงอาคารของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551 รวมถึงความสัมพันธ์ของอายุอาคารและรูปแบบการปรับปรุง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นรวบรวมข้อมูลโครงการปรับปรุงอาคารในพื้นที่เขตการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ 2542-2551 จากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ แล้วจึงนำมาจำแนกอายุของอาคารที่ทำการปรับปรุงตามกรอบทฤษฎีที่กำหนด เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลในการปรับปรุงอาคารและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าใน 10 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การก่อสร้างอาคารใหม่ และการปรับปรุงพื้นที่และอาคารเดิม พบว่ามีอาคารที่ทำการปรับปรุงทั้งหมด 61% จากอาคารทั้งหมดในมหาวิทยาลัย โดยในแต่ละปีมีจำนวนอาคารที่ปรับปรุงคิดเป็นสัดส่วน 15% จำนวนโครงการและเงินลงทุนรวมในการปรับปรุงอาคารที่มีจำนวนสูงสุดพบในอาคารช่วงอายุ 0-20 ปี เมื่อวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนร้อยละเปรียบเทียบระหว่างอาคารที่ได้รับการปรับปรุง กับอาคารทั้งหมดในแต่ละช่วงอายุพบว่า อาคารในช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนของอาคารที่ได้รับการปรับปรุงเป็นสัดส่วนสูงที่สุด วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงจำแนกได้เป็น 3 เป้าหมาย ได้แก่ 1) เพื่อการปรับปรุงสภาพทางกายภาพ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ปัญหาการใช้งานของอาคาร 3) เพื่อจัดการการใช้งานพื้นที่ การปรับปรุงจำแนกตามขอบเขตพื้นที่ดำเนินการออกเป็น การปรับปรุงทั้งอาคารซึ่งพบมากในอาคารช่วงอายุ 41-50 ปีและการปรับปรุงบางส่วนซึ่งยังแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ 1) การปรับปรุงโครงสร้างอาคาร พบมากในอาคารช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไป 2) การปรับปรุงผิวเปลือกอาคารพบส่วนใหญ่ใน 2 ช่วงอายุอาคาร คือ 31-40 ปี และ 41-50 ปี 3) การปรับปรุงการใช้งานของอาคารพบมากในอาคารช่วงอายุ 0-20 ปี และ 4) การปรับปรุงระบบประกอบอาคารพบมากในอาคารช่วงอายุ 21-30 ปี และ 31-40 ปี จากการศึกษามีข้อสรุปว่า อายุของอาคารมีผลต่อรูปแบบการปรับปรุงอาคารของมหาวิทยาลัย โดยแต่ละช่วงอายุอาคารมีความต้องการรูปแบบการปรับปรุงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการปรับปรุงทั้งอาคารและการปรับปรุงโครงสร้างอาคารพบว่า จะมีจำนวนโครงการและเงินลงทุนสูงขึ้นตามอายุอาคารที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนในการปรับปรุงผิวเปลือกอาคาร การปรับปรุงการใช้งานของอาคาร และการปรับปรุงระบบประกอบอาคารพบว่า มีจำนวนแตกต่างกันตามความต้องการในการปรับปรุงอาคารนั้นๆ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงควรมีการจัดทำฐานข้อมูลในการปรับปรุงทางกายภาพให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ควรมีการวางแผนในการปรับปรุงทางกายภาพให้เหมาะสม เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพสูงสุด |
บรรณานุกรม | : |
ปิยะพันธ์ มั่นคง . (2552). การปรับปรุงทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยะพันธ์ มั่นคง . 2552. "การปรับปรุงทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยะพันธ์ มั่นคง . "การปรับปรุงทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ปิยะพันธ์ มั่นคง . การปรับปรุงทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2551. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|