ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าโดยใช้เธอร์โมอิเล็กทริก |
นักวิจัย | : | เจริญพร เลิศสถิตธนกร |
คำค้น | : | ความร้อน , ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ , เธอร์โมอิเล็กทริก , ไฟฟ้า |
หน่วยงาน | : | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RMU5080032 , http://research.trf.or.th/node/5338 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ในการศึกษาสมรรถนะตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าโดยใช้เธอร์โมอิเล็กทริกนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่หนึ่งของโครงการนี้ ได้ทำการเปรียบเทียบศักยภาพของเธอร์โมอิเล็กทริกโมดูลชนิดผลิตไฟฟ้าและชนิดทำความเย็นเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งความร้อนต่ำ ในการทดลองได้เลือกเธอร์-โมอิเล็กทริกโมดุลที่มีขายเชิงพาณิชย์โดยเป็นชนิดผลิตไฟฟ้า 2 โมเดล และชนิดทำความเย็น 2 โมเดลทำการทดลองภายใต้การปรับเปลี่ยนความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิด้านร้อนและด้านเย็นของเธอร์โมอิ-เล็กทริกโมดูล สมรรถนะการผลิตไฟฟ้าของเธอร์โมอิเล็กทริกโมดูลถูกวัดด้วยกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ในขณะที่การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แสดงในรูปต้นทุนต่อหน่วยการผลิต ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าเธอร์โมอิเล็กทริกโมดูลชนิดทำความเย็นควรนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งความร้อนต่ำ ส่วนที่สองได้สร้างและทดสอบตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าเธอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตอากาศร้อน ประกอบด้วยแผ่นปิดที่ทำจากกระจก ช่องว่างอากาศ แผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์เธอร์โมอิเล็กทริกโมดูล เครื่องระบายความร้อนแบบครีบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รังสีอาทิตย์ทำความร้อนให้แผ่นดูดกลืน เป็นเหตุให้เกิดอุณหภูมิแตกต่างระหว่างอุณหภูมิด้านร้อนและด้านเย็นของเธอร์โมอิเล็ก-ทริกโมดูล เกิดการผลิตไฟฟ้าจากเธอร์โมอิเล็กทริกโมดูล ความร้อนเพียงส่วนน้อยจากรังสีอาทิตย์ที่แปลงเป็นไฟฟ้า ขณะที่ความร้อนส่วนใหญ่เพิ่มอุณหภูมิให้กับแผ่นดูดกลืนรังสี อากาศแวดล้อมไหลไหลเข้าเครื่องระบายความร้อนที่ติดอยู่ในช่องด้านล่างและได้รับความร้อนจากเครื่องระบายความร้อนจากนั้นอากาศร้อนจะไหลขึ้นไปยังช่องด้านบนเพื่อรับความร้อนจากแผ่นดูดกลืนรังสี เป็นการปรับปรุงให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนและประสิทธิภาพรวมของระบบมีค่าเพิ่มขึ้น ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราการไหลอากาศเพิ่มขึ้น ขณะที่กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้และประสิทธิภาพการแปลงพลังงานขึ้นอยู่กับผลต่างระหว่างอุณหภูมิด้านร้อนและด้านเย็นของเธอร์โมอิ-เล็กทริกโมดูล ที่ผลต่างระหว่างอุณหภูมิด้านร้อนและด้านเย็น 22.8°C สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 2.13 W และมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 6.17% ระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบแกนเดียวถูกนำมามาใช้ร่วมกับตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าเธอร์โมอิเล็กทริก สมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าเธอร์โมอิเล็กทริกถูกวัดทั้งกรณีที่อยู่กับที่และกรณีเคลื่อนที่ติดตามดวงอาทิตย์นำผลที่ได้จากการทดลองมาเปรียบเทียบกัน พบว่ากำลังไฟฟ้าและความร้อนเพิ่มขึ้น 21.7% และ 21% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีอยู่กับที่ ส่วนที่สามทำการวิเคราะห์สมรรถนะและเศรษฐศาสตร์ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าเธอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตน้ำร้อน ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าเธอร์โมอิ-เล็กทริกประกอบด้วยแผ่นปิดที่ทำจากกระจก ช่องว่างอากาศ แผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ เธอร์โมอิเล็กทริกโมดูล เครื่องระบายความร้อนที่ใช้น้ำเป็นสารทำงาน และถังเก็บน้ำร้อน จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนและประสิทธิภาพรวมของระบบเท่ากับ 74.9% และ 77.3% ตามลำดับ ที่อัตราการไหลน้ำ 0.33 kg/s ที่ผลต่างระหว่างอุณหภูมิด้านร้อนและด้านเย็น 27.1°C สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 3.6 W การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าเธอร์โมอิเล็กทริกที่อัตราการไหลน้ำ 0.33 kg/s ให้ระยะเวลาคืนทุนสั้นที่สุดและอัตราการผลตอบแทนภายใน (IRR) สูงสุด |
บรรณานุกรม | : |
เจริญพร เลิศสถิตธนกร . (2553). การศึกษาสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าโดยใช้เธอร์โมอิเล็กทริก.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เจริญพร เลิศสถิตธนกร . 2553. "การศึกษาสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าโดยใช้เธอร์โมอิเล็กทริก".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เจริญพร เลิศสถิตธนกร . "การศึกษาสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าโดยใช้เธอร์โมอิเล็กทริก."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553. Print. เจริญพร เลิศสถิตธนกร . การศึกษาสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผสมความร้อนไฟฟ้าโดยใช้เธอร์โมอิเล็กทริก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2553.
|