ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาปริมาณสารไธโอไซยาเนตในน้ำนมดิบจากพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย |
นักวิจัย | : | จำรัส เลิศศรี |
คำค้น | : | ไธโอไซยาเนต , น้ำนมดิบ , ภาคเหนือตอนบน |
หน่วยงาน | : | กรมปศุสัตว์ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ไธโอไซยาเนตเป็นสารเมทาบอไลท์ที่พบในเนื้อเยื่อและสารคัดหลั่งของคนและสัตว์ เป็นสารที่มีความสำคัญของระบบแลคโตเปอร์ออกซิเดสในน้ำนมดิบ สามารถออกฤทธิ์ทำลายหรือยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ ระดับของไธโอไซยาเนตในน้ำนมดิบแปรผันตามระดับของไธโอไซยาเนตในเลือดซึ่งขึ้นอยู่กับการได้รับอาหารสัตว์ที่มีสารไซยาโนจีนิกกลูโคไซด์ และสารกลูโคซิโนเลทเป็นองค์ประกอบ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารไธโอไซยาเนตในน้ำนมดิบจากฟาร์มเลี้ยงโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และเปรียบเทียบปริมาณสารไธโอไซยาเนตในน้ำนมดิบตามฤดูกาล และวิเคราะห์สารไซยาไนด์ในอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงโคนม ผลการศึกษาพบว่าน้ำนมดิบจากแม่โครายตัวและในถังนมรวมมีปริมาณสารไธโอไซยาเนตเฉลี่ย 5.14?2.44 และ 4.29?1.72 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยมีค่าต่ำสุด-สูงสุด เท่ากับ 1.39-21.22 และ 1.60-14.19 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบปริมาณสารไธโอไซยาเนตในน้ำนมดิบตามฤดูกาล พบว่าสารไธโอไซยาเนตในน้ำนมดิบมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูกาล โดยในฤดูหนาว (8.98?4.19 มิลลิกรัมต่อลิตร) มีปริมาณสารไธโอไซยาเนตเฉลี่ยสูงกว่าฤดูฝน (6.15?2.38 มิลลิกรัมต่อลิตร) และฤดูร้อน (4.93?1.33 มิลลิกรัมต่อลิตร) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คำสำคัญ: ไธโอไซยาเนต, น้ำนมดิบ, ภาคเหนือตอนบน เลขทะเบียนโครงการวิจัย 54 (1)-0115-044 |
บรรณานุกรม | : |
จำรัส เลิศศรี . (). .
: . จำรัส เลิศศรี . . "".
: . จำรัส เลิศศรี . "."
: , . Print. จำรัส เลิศศรี . . : ; .
|