ชื่อเรื่อง | : | รายงานฉบับที่ วพ.315 การศึกษาความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต |
นักวิจัย | : | ภัทรพล สีดอกบวบ , วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล , นวพล พรหมจารีย์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | กรมทางหลวง สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2561 |
อ้างอิง | : | http://saraban.doh.go.th/DipWeb/htmlpub/index.jsp |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ปัจจุบันการคมนาคมขนส่งจัดเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ต้องอาศัยการขนส่งเป็นหลัก ซึ่งพบว่าการขนส่งทางบกเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยอาศัยรถยนต์เป็นยานพาหนะในการเดินทางและขนส่งสินค้า โดยกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลถนนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทานให้ยานพาหนะที่ใช้บนเส้นทางดังกล่าวมีความปลอดภัย รวมถึงกรมทางหลวงได้มีมาตรการควบคุม และแก้ไขปัญหารถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินกว่ากฎหมายกำหนด ตามผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2542 โครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียด โครงการจัดตั้งด่านชั่งน้ำหนักถาวรบนทางหลวงทั่วประเทศ โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างสถานีตรวจสอบน้ำหนักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน จ้านวน 70 แห่ง ด้วยเหตุนี้การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสถานีตรวจสอบน้ำหนักจึงมีความสำคัญ ทั้งด้านความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทางบริเวณสถานีตรวจสอบน้ำหนัก และเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นบริเวณสถานีตรวจสอบน้ำหนัก สำนักงานควบคุมน้ำหนัก ยานพาหนะ กรมทางหลวง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยและการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสถานีตรวจสอบน้ำหนัก โดยมุ่งเน้นในเรื่อง งานเครื่องหมายจราจร และอุปกรณ์อ้านวยความปลอดภัยให้อยู่ในสภาพที่ให้บริการได้อย่างปลอดภัย ทั้งป้ายจราจร หลักกันโค้ง รวมทั้งงานสีจราจรต่างๆงานสีจราจรสำหรับพ่นหรือทาผิวจราจร เพื่อแบ่งช่องทางจราจรเครื่องหมายจราจรและทิศทางการจราจรนั้น เป็นหนึ่งในงาน ที่สำคัญของการบูรณะบ้ารุงทาง ตลอดจนคุณภาพและประสิทธิภาพของสีสำหรับท้าเครื่องหมายจราจรบนผิวทางให้สามารถใช้งานได้นานตามระดับคุณภาพของสี และระดับทางด้านความปลอดภัย ได้อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล ในการศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต บริเวณสถานีตรวจสอบน้ำหนัก ยานพาหนะ ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในท้าเครื่องหมายบนผิวทางอีกชนิดที่ใช้ในการลดอุบัติเหตุบริเวณจุดที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความหนา ระยะเวลา ปริมาณจราจร ความกว้างของแถบสี น้ำหนัก บรรทุก เป็นต้น ที่มีผลต่อประสิทธิภาพความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต ที่จะมีผลท้าให้ประสิทธิภาพของเครื่องหมายจราจรบนผิวทางลดลง |
บรรณานุกรม | : |
ภัทรพล สีดอกบวบ , วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล , นวพล พรหมจารีย์ . (2561). รายงานฉบับที่ วพ.315 การศึกษาความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต.
กรุงเทพมหานคร : กรมทางหลวง สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง. ภัทรพล สีดอกบวบ , วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล , นวพล พรหมจารีย์ . 2561. "รายงานฉบับที่ วพ.315 การศึกษาความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต".
กรุงเทพมหานคร : กรมทางหลวง สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง. ภัทรพล สีดอกบวบ , วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล , นวพล พรหมจารีย์ . "รายงานฉบับที่ วพ.315 การศึกษาความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต."
กรุงเทพมหานคร : กรมทางหลวง สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง, 2561. Print. ภัทรพล สีดอกบวบ , วุฒิชัย อมรประสิทธิ์ผล , นวพล พรหมจารีย์ . รายงานฉบับที่ วพ.315 การศึกษาความลื่นไถลของสีโคลด์พลาสติกบนผิวทางคอนกรีต. กรุงเทพมหานคร : กรมทางหลวง สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง; 2561.
|