ความเป็นมาของระบบ
ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบวิจัยมีเอกภาพและธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการที่สมดุลและยั่งยืน มีความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระหว่าง
ทุกภาคส่วนในระบบวิจัย มีระบบงบประมาณการวิจัยของภาครัฐที่มีกลไกที่เอื้อต่อกระบวนการบริหารจัดการด้านการวิจัย มีผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนในการเพิ่มมูล
ค่าผลิตภัณฑ์และการให้บริการของวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับการพัฒนาของประเทศ
ในการประชุมแนวทางการพัฒนาและบูรณาการระบบวิจัยของประเทศ ครั้งที่ 5/2553 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ณ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ประชุม
ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน 5 ส. และ วช. (เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ หรือ คอบช.) ได้แก่
ประชุมเห็นชอบร่วมกัน ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการวิจัย ซึ่งเป็นการดำเนินงานในมิติด้านโครงสร้างพื้นฐานในการปฏิรูป 9 มิติของระบบวิจัย โดยมีเป้าหมายในการบริหาร
จัดการข้อมูลวิจัย เพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ในมิติต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลการวิจัยในภาพรวมของประเทศที่สามารถวิเคราะห์สถานภาพการวิจัยแต่ละปี สถานภาพ
ความก้าวหน้า และผลสำเร็จของการวิจัยในมิติต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ และทิศทางการวิจัยของประเทศ การวิเคราะห์
และกำหนดกรอบความต้องการงบประมาณเพื่อการวิจัยของประเทศ โดยมีแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน คือ ระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการวิจัยของประเทศ ใช้ชื่อในภาพรวมว่า
“คลังข้อมูลงานวิจัยไทย” (Thai National Research Repository : TNRR)
การประชุมแนวทางการพัฒนาและบูรณาการระบบวิจัยของประเทศ ครั้งที่ 6/2553 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 ที่ประชุมได้พิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาระบบ
คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) อย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในแนวทางการพัฒนาระบบ คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) ใน 6 ขั้นตอน แบ่งการดำเนินงาน
เป็น 6 ระบบย่อยที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลกันอย่างครบวงจร
จากความเห็นชอบร่วมกันดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานกลาง จึงได้จัดตั้ง “คณะทำงานเพื่อพัฒนาและบูรณาการระบบข้อมูลวิจัยของประเทศ”
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 ประกอบด้วยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.)
โดยมี เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน จัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย จำนวน 6 คณะทำงาน เพื่อดำเนินงานพัฒนาระบบย่อย 6 ระบบ โดยมีผู้บริหารสูงสุดของ
หน่วยงาน คอบช. เป็นประธานในแต่ละคณะทำงานย่อย และมีเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงานใน คอบช. ร่วมเป็นคณะทำงาน ซึ่งระบบย่อยทั้ง 6 ระบบ ประกอบด้วย
- ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว : วช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลนักวิจัยและระบบรายงานแบบ Expert Finder : สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตร : สวทน. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ : สกว. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลเพื่อ Single Window & Data Entry : สวรส. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูล Utilization & Commercialization : สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
เมื่อดำเนินงานได้ระยะหนึ่ง คณะทำงานฯ พบว่า ระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตร ซึ่งมี สวทน. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และระบบฐานข้อมูล Utilization & Commercialization
ซึ่งมี สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับ ใกล้เคียงกัน คือการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์
จึงได้มีการปรับปรุงตามประกาศ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 รวมคณะทำงานด้านระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตร และคณะทำงานด้านระบบฐานข้อมูล
Utilization & Commercialization เข้าไว้ด้วยกัน ตั้งชื่อใหม่เป็น คณะทำงานด้านการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่รัฐสนับสนุน (Government Funded Research Market Place)
โดย สวทน. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
จากการปรับปรุงดังกล่าว คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) มีการดำเนินงาน 5 ระบบย่อย คือ
- ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว : วช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลนักวิจัยและระบบรายงานแบบ Expert Finder : สวทช. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่รัฐสนับสนุน : สวทน. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ : สกว. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
- ระบบฐานข้อมูล Single Window & Data Entry : สวรส. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน
เมื่อดำเนินงานมาได้ระยะหนึ่ง คณะทำงานฯ มีความเห็นร่วมกันว่า คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) ทั้ง 5 ระบบย่อย มีการดำเนินงานแบ่งได้เป็นสองลักษณะ จึงได้มีมติ
ในการประชุม ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุมพลโทพระยาศัลวิธานนิเทศ วช. เห็นชอบให้จำแนกการดำเนินงานทั้ง 5 ระบบย่อยใน คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR)
ออกเป็น 2 ส่วนคือ คือ ส่วนที่มีลักษณะเป็น คลังข้อมูล (Repository) เพื่อการสืบค้นข้อมูล เผยแพร่การใช้ประโยชน์สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง และส่วนที่มีลักษณะเป็น
ระบบเพื่อการบริหารจัดการงบประมาณการวิจัย (Management System) ซึ่งเป็นระบบปิด เพื่อหน่วยงานให้ทุนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการงบประมาณด้านการวิจัย
ไม่เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะเพื่อการสืบค้น
TNRR : Thai National Research Repository คลังข้อมูลงานวิจัยไทย
เป็น คลังข้อมูล (Repository) เพื่อการสืบค้นข้อมูล เผยแพร่การใช้ประโยชน์สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง ประกอบด้วย
- ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว
- ระบบฐานข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่รัฐสนับสนุน (อยู่ระหว่างการดำเนินงาน)
NRMS : National Research Management System ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ
เป็นระบบเพื่อการบริหารจัดการงบประมาณการวิจัย (Management System) ซึ่งเป็นระบบปิด เพื่อหน่วยงานให้ทุนใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการงบประมาณด้านการวิจัย
ไม่เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะเพื่อการสืบค้น ประกอบด้วย
- ระบบฐานข้อมูล Single Window & Data Entry (ปีพ.ศ. 2557 ผนวกรวมกับระบบ NRPM รวมเรียกระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ NRMS)
- ระบบฐานข้อมูลนักวิจัยและระบบรายงานแบบ Expert Finder
- ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ On going (อยู่ระหว่างการดำเนินงาน)
โดยการดำเนินงานของระบบ TNRR และระบบ NRMS มีการเชื่อมโยงส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน
---------------------------------------------------------------------
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
National Research Council of Thailand (NRCT)
อับเดตล่าสุด 16 สิงหาคม 2560