ชื่อเรื่อง | : | มาตรฐาน LOINC กับระบบข้อมูลสุขภาพของไทย |
นักวิจัย | : | บุญชัย กิจสนาโยธิน , ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ |
คำค้น | : | ข้อมูลสุขภาพ , สารสนเทศทางการแพทย์ , ระบบข้อมูล , ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ |
หน่วยงาน | : | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข |
ผู้ร่วมงาน | : | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังเพื่อสุขภาพ |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | 9789742991777 , hs1933 , http://hdl.handle.net/11228/3459 , W26.5 บ426ม 2555 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ประเทศไทยยังไม่มีรหัสมาตรฐานด้านการตรวจทางคลินิกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อมูลทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางคลินิก (Laboratory Information) ของหน่วยงานต่างๆ ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ การมีรหัสมาตรฐานข้อมูลทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางคลินิกที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งประเทศที่สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานในระบบสุขภาพได้หลายหน่วยงาน หลายขนาด ทั้งเพื่อการดูแลรักษาคนไข้ เพื่อการรายงานทางระบาดวิทยา เพื่อการบริหารทรัพยากร เพื่อการบริหารจัดการการประกันสุขภาพและการเงินการคลังระบบสุขภาพหรือเพื่อสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกและทางสาธารณสุข ย่อมทำให้ระบบการบริการสุขภาพของประเทศมีประสิทธิภาพขึ้นทั้งด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล และทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง เห็นว่ารหัสมาตรฐานข้อมูลด้านการตรวจทางคลินิกมีความสำคัญ ในลำดับต้น ๆ ที่ประเทศไทยควรรีบดำเนินการจัดการใหม่ขึ้น และเห็นว่ามาตรฐาน LOINC (Logical Observation Identifiers Names and Codes) เป็นมาตรฐานที่ควรเลือกใช้ในระบบข้อมูลสุขภาพ LOINC เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐาน (Standard name and coding system) สากลที่ใช้ระบุชนิดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical Laboratory) และการตรวจทางคลินิก (Clinical Observation) เปรียบเหมือนกับภาษาที่ทำให้ระบบข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย (Laboratory Information Systems) และระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records) ต่างระบบกันสามารถสื่อสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการตรวจทางคลินิก ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Interoperability) LOINC จึงเป็นมาตรฐานข้อมูลสุขภาพที่สำคัญในการที่จะทำให้ระบบข้อมูลสุขภาพ (Health Information Systems) ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ LOINC เป็นระบบรหัสมาตรฐานที่สถาบันรีเกนสทรีฟ (Regenstrief Institute) แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้พัฒนาและบำรุงรักษา เป็นระบบรหัสมาตรฐานเปิด ผู้ใช้สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ เป็นหนึ่งในมาตรฐานข้อมูลสุขภาพที่เป็นสากล หลายประเทศประกาศใช้เป็นมาตรฐานระดับชาติ LOINC สามารถระบุการตรวจทางคลินิกได้อย่างเฉพาะเจาะจง (uniquely identify) เนื่องจาก LOINC ใช้คุณสมบัติ (attribute) ถึง 6 แกน/ส่วนประกอบ (axis/part) ในการระบุการตรวจฯ แต่ละชนิด LOINC เวอร์ชั่น ล่าสุด (เวอร์ชั่น 2.38) ประกอบด้วยคำศัพท์ (terms/concepts) จำนวน 68,350 คำ แบ่งออกเป็น 4 หมวดหลัก ได้แก่ 1) Laboratory 2) Clinical 3) Claim Attachment และ 4) Survey ชื่อการตรวจฯ (LOINC name) หนึ่งๆ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างน้อย 5 แกน ชื่อการตรวจฯจะมีรหัส (LOINC number) ที่เป็นตัวเลขไม่ซ้ำกัน กำกับเป็นตัวเลขเรียงลำดับ โดยไม่มีความหมายในตัวเอง ตัวเลขตัวสุดท้ายหลังสัญลักษณ์ยัติภังค์ (hyphen) เป็นเลขเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง (check digit) ของเลขรหัสที่อยู่หน้าสัญลักษณ์ยัติภังค์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข |
บรรณานุกรม | : |
บุญชัย กิจสนาโยธิน , ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ . . : ; .
|