ชื่อเรื่อง | : | Costs of Lifetime Treatment of Acute Coronary Syndrome at Ramathibodi Hospital , ต้นทุนค่ารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันของผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี (คาดคะเนต้นทุนตลอดอายุขัย) |
นักวิจัย | : | Pongchai Anukoolsawat , Piyamitr Sritara , Yot Teerawattananon |
คำค้น | : | Costs , Treatment of Acute Coronary Syndrome |
หน่วยงาน | : | International Health Policy Program |
ผู้ร่วมงาน | : | Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital , Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital , World Health Organization Fellow & PhD candidate in Health Economics, University of East Anglia, Norwich, England |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | Thai Heart Journal 19,4(2006) : 132-143 , 0857-5789 , DMJ85 , http://hdl.handle.net/11228/346 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินต้นทุนการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันของผู้ป่วยของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตลอดระยะเวลาการรักษาตั้งแต่นอนในโรงพยาบาลครั้งแรก ตลอดระยะเวลา 1 ปีแรก และตลอดชีวิตของผู้ป่วย โดยใช้ทั้งมุมมองทั้งของรัฐบาล และมุมมองของสังคมโดยรวม ความเป็นมา: โรคหลอดลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายที่สำคัญของคนไทย และเป็นภาระทางงบประมาณในการดูแลรักษาค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ความคุ้มทุนในการป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกในประเทศไทยที่ได้ทำการวิเคราะห์ต้นทุนการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันของผู้ป่วยของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่นอนในโรงพยาบาลครั้งแรก ตลอดระยะเวลา 1 ปีแรก และตลอดชีวิตของผู้ป่วย โดยใช้ทั้งมุมมองทั้งของรัฐบาล และมุมมองของสังคมโดยรวม อันจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ความคุ้มทุนในการป้องกัน และรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันต่อไป วิธีการ: ทำการศึกษาแบบย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ในทะเบียนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Thai ACS registry) ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ทุกราย ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 ถึง เดือนธันวาคม 2546 จำนวน 330 เวชระเบียน โดยรวบรวมต้นทุนโดยตรงอันเกิดจากการดูแลรักษาของโรงพยาบาลและต้นทุนโดยอ้อมอันเกิดจากการสูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิต และได้ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยสอบถามผู้ป่วยในทะเบียนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลันที่มารับการรักษาติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 ถึง เดือนตุลาคม 2548 ทั้งหมด 193 ครั้ง ถึงต้นทุนในการรักษาในฝ่ายของผู้ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม ต้นทุนถูกปรับค่าให้เป็นต้นทุนในปี 2548 โดยอาศัยดัชนีผู้บริโภคของประเทศไทย (Thai consumer price index) หมวดการบริการทางการแพทย์ ในท้ายที่สุดจากการวิเคราะห์อัตราการอยู่รอด ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการคาดคะเนจำนวนปีที่อยู่รอด และต้นทุนค่ารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันตลอดชีวิตของผู้ป่วย โดยใช้ทั้งมุมมองทั้งของรัฐบาล และมุมมองของสังคมโดยรวม ผลการศึกษา: ค่ากลาง (median) ของต้นทุนโดยตรงในการรักษาของโรงพยาบาลในปีแรกเท่ากับ 120,298 บาทต่อคน ค่ากลาง (median) ของต้นทุนโดยตรงในการรักษาที่ผู้ป่วยจ่ายในปีแรกเท่ากับ 3,215 บาทต่อคน ค่ากลาง (median) ของต้นทุนโดยอ้อมอันเกิดจากการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือการตายในปีแรกเท่ากับ 30,477 บาทต่อคน สรุป: ต้นทุนการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันเมื่อคาดคะเนไปตลอดอายุขัย มีค่าใช้จ่ายที่สูง ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปศึกษาหาความคุ้มค่าของยาหรือวิธีการป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลันในประเทศไทยต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
|