ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 |
นักวิจัย | : | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล |
คำค้น | : | การกระจายอำนาจปกครอง , บริการสาธารณะ , นิติบุคคล , กฎหมายมหาชน , กฎหมายการศึกษา , โรงเรียน -- การบริหาร , Decentralization in government , Public services , Juristic persons , Public law , Educational law and legislation , School management and organization |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2555 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37630 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารร่วมกับการสนทนากลุ่ม จากผู้แทนสถานศึกษานิติบุคคลเพื่อค้นหาข้อมูลที่เป็นปัญหาในเชิงปฎิบัติ ผลการศึกษาได้พบข้อดีที่สนับสนุนการเกิดสถานศึกษานิติบุคคลหลายประการ แต่ในขณะเดียวกันได้พบปัญหาและผลกระทบที่เกิดหรืออาจเกิดจากการที่สถานศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคลหลายประการเช่นกัน โดยผู้วิจัยขอสรุปดังนี้ ความเป็นสถานศึกษานิติบุคคล เกิดขึ้นตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 แต่ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจน เพราะมิได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ ถึงความเป็นนิติบุคคลที่ชัดเจนเพียงพอ โดยเฉพาะในเรื่องของขนาดสถานศึกษาซึ่งควรต้องระบุเป็นเงื่อนไขของการเป็นนิติบุคคล โดยการบริหารงานภายในสถานศึกษาพบว่า มีปัญหาทั้ง 4 ด้าน ในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งด้านที่พบปัญหามากที่สุดคือ ด้านการบริหารงานบุคคลและการบริหารงบประมาณ เนื่องจากในการบริหารงาน 2 ด้านดังกล่าว กฎหมายยังมิได้มีการมอบอำนาจมาให้สถานศึกษาที่จะมีอำนาจดำเนินการได้โดยตรง เพราะอำนาจที่มอบมายังคงถูกรวมศูนย์อยู่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดิม การมอบอำนาจลงมาสู่สถานศึกษาจะเป็นเพียงการมอบอำนาจเฉพาะเรื่องที่อาศัยคำสั่งเป็นเรื่องๆ มิใช่การมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ในลักษณะที่จะสามารถดำเนินการตัดสินใจและบริหารสถานศึกษานิติบุคคลเป็นงานประจำได้ แต่สำหรับปัญหาการบริหารงานภายในสถานศึกษาที่เหลืออีก 2 ด้าน ได้แก่ การบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไป ในภาพรวมพบว่ามีปัญหาในระดับที่ไม่มาก สำหรับปัญหาความรับผิดของสถานศึกษานิติบุคคลในกรณีที่อาจถูกฟ้องร้อง เนื่องจากสถานศึกษามีฐานะเข้าเป็นคู่ความในคดีต่างๆ ได้ พบว่า มีความเสี่ยงที่อาจถูกฟ้องร้องในคดีปกครองมากที่สุด เนื่องจากกฎหมายให้สิทธิใช้อำนาจปกครองได้ และผู้อำนวยการสถานศึกษาจะมีการทำนิติกรรมทางปกครองอยู่ตลอดเวลา แนวทางแก้ปัญหาที่ควรจะเป็น ควรเพิ่มเติมเนื้อหาของมาตรา 35 โดยกำหนดให้ขนาดสถานศึกษาหรือจำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการให้สถานะความเป็นนิติบุคคล และระบุอำนาจหน้าที่ของการบริหารงานภายในสถานศึกษาทั้ง 4 งานหลักที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มเติมลงไปในมาตรา 35 และรับรองความเป็นผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพให้กับสถานศึกษานิติบุคคลไว้ในวรรคท้ายของมาตรา 35 รวมทั้งจัดอบรมและทำคู่มือรวบรวมกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้บริหารและครูร่วมกับการตั้งศูนย์ประสานงาน Call Center ของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อลดความเสี่ยงในการทำนิติกรรมของสถานศึกษานิติบุคคล |
บรรณานุกรม | : |
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล . (2555). ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สฎายุ ธีระวณิชตระกูล . 2555. "ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สฎายุ ธีระวณิชตระกูล . "ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. Print. สฎายุ ธีระวณิชตระกูล . ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
|