ชื่อเรื่อง | : | พฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารที่ให้บริการในเขตชุมชนชานเมือง |
นักวิจัย | : | เจษฎา ปริตาโพธิ์ |
คำค้น | : | รถตู้โดยสาร , ผู้โดยสารรถตู้ , การขนส่งมวลชน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สรวิศ นฤปิติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13427 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 ศึกษาถึงทัศนคติของผู้เดินทางและตรวจสอบอิทธิพลของทัศนคติในเชิงจิตวิทยา ที่ส่งผลต่อเจตนาในการใช้บริการรถตู้โดยสาร โดยศึกษาจากกลุ่มผู้เดินทางที่พักอาศัยอยู่ในเขตชุมชนชานเมืองฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สำหรับตัวแปรทางด้านทัศนคติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรม พันธะทางจริยธรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และเจตนาในการกระทำพฤติกรรม โดยความสัมพันธ์ภายในแบบจำลองมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา หรือ The theory of planned behavior (TPB) พฤติกรรมของผู้เดินทางแสดงโดยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้เดินทางด้วยรถตู้โดยสาร วิเคราะห์โดยสถิติเชิงอนุมาน การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงจิตวิทยากับเจตนาในการใช้รถตู้โดยสาร วิเคราะห์โดยแบบจำลองสมการโครงสร้าง หรือ Structural Equation Modeling (SEM) ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 415 ตัวอย่าง พบว่า เพศของผู้เดินทางมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้เดินทาง การทดสอบความแตกต่างของทัศนคติระหว่างกลุ่มผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารและกลุ่มผู้ไม่ใช้บริการรถตู้โดยสาร พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีทัศนคติต่อการใช้รถตู้โดยสารที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองพบว่า ตัวแปรสังเกตได้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแฝงเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุพบว่า แบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของแบบจำลองทั้งสองพบว่า เจตนาในการใช้รถตู้โดยสารสามารถอธิบายได้จากตัวแปรแฝงภายในอันได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และเจตคติต่อพฤติกรรม ตามลำดับ โดยความสัมพันธ์มีนัยทางสถิติที่ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.27 0.25 และ 0.24 ตามลำดับ หากพิจารณาความสัมพันธ์ของแบบจำลอง พบว่า ตัวแปรเชิงทัศนคติสามารถอธิบายความแปรปรวนของเจตนาในการใช้รถตู้โดยสารของผู้เดินทางได้ 39% |
บรรณานุกรม | : |
เจษฎา ปริตาโพธิ์ . (2550). พฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารที่ให้บริการในเขตชุมชนชานเมือง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจษฎา ปริตาโพธิ์ . 2550. "พฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารที่ให้บริการในเขตชุมชนชานเมือง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจษฎา ปริตาโพธิ์ . "พฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารที่ให้บริการในเขตชุมชนชานเมือง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. เจษฎา ปริตาโพธิ์ . พฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารที่ให้บริการในเขตชุมชนชานเมือง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|