ชื่อเรื่อง | : | ผลกระทบของความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอาคารชุดที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | อภิชาต อึ้งประเสริฐ |
คำค้น | : | คารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯ , รถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ , อสังหาริมทรัพย์ -- การประเมินราคา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745315028 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12921 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 แม้ว่าการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนนั้นต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็จะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟฟ้าราคาเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นโอกาสให้ รัฐบาลซึ่งเป็นผู้ลงทุนนั้นสามารถคืนทุนได้ อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับ ผลกระทบของระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอสังหาริมทรัพย์อย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถ ทราบได้ว่าผลกระทบเป็นตัวเงินที่เกิดขึ้นจากการมีทำเลใกล้สถานีรถไฟฟ้าเป็นอย่างไร เพื่อตอบ ปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาของห้องชุดที่พักอาศัยกับระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้า และเพื่อสร้างแบบจำลองที่ใช้ประเมิน ราคาห้องชุด ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการรวบรวมประกาศเสนอขายจากทางนิตยสาร ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และโปรแกรมแผนที่ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลอง สมการถดถอยแบบเฮโดนิก (Hedonic Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมุติฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ระหว่างราคาของห้องชุดกับระยะทางระหว่างอาคารชุดกับสถานีรถไฟฟ้า อันเป็น ตัวแปรซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการเข้าถึงระบบไฟฟ้า และเพื่อใช้ในการประเมินราคาห้องชุด ที่พักอาศัย จากผลการศึกษาพบว่า ราคาของห้องชุดที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์กับรากที่สองของ ระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้า ภายใต้คุณสมบัติของอาคารชุดและห้องชุดที่ใกล้เคียงกัน เมื่ออาคารชุด อยู่ไกลจากสถานีมากยิ่งขึ้น ราคาของห้องชุดจะลดลง ด้วยระยะทางที่เท่ากัน ระยะทางในช่วงใกล้ สถานีจะส่งผลมากกว่าระยะทางช่วงไกลจากสถานี โดยชุดข้อมูลที่ใช้ทดสอบในวิทยานิพนธ์นี้ ห้องชุดในอาคารที่อยู่บริเวณติดกับสถานีกับห้องชุดในอาคารที่ห่างจากสถานี 1 กิโลเมตร จะมีราคาต่างกันประมาณ 6.8 แสนบาท ห้องชุดในอาคารที่อยู่ในบริเวณติดกับสถานีกับห้องชุด ในอาคารที่ห่างจากสถานี 2 กิโลเมตร จะมีราคาต่างกันประมาณ 9.7 แสนบาท ผลการศึกษา ดังกล่าวสามารถใช้ในการประเมิน การเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ บริเวณใกล้เคียง สถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ซึ่งเป็นฐานภาษีใหม่ และสามารถใช้เป็นแหล่งทุนสำหรับ การลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตได้ |
บรรณานุกรม | : |
อภิชาต อึ้งประเสริฐ . (2548). ผลกระทบของความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอาคารชุดที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิชาต อึ้งประเสริฐ . 2548. "ผลกระทบของความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอาคารชุดที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิชาต อึ้งประเสริฐ . "ผลกระทบของความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอาคารชุดที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. อภิชาต อึ้งประเสริฐ . ผลกระทบของความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอาคารชุดที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|