ชื่อเรื่อง | : | การควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยใช้ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ Bacillus thuringiensis subsp. Israelensis ชนิดออกฤทธิ์นาน |
นักวิจัย | : | จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ , Chanpen Wiwat |
คำค้น | : | Ades egypti larvae , Bacillus thuringiensis subsp. Israelensis , Biological sciences , Biology , Biology and biochemistry , BT-B-01-XT-14-4901 , ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ , ยุงลาย , ลูกน้ำยุงลาย , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย , แกรนูล |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/1345 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | โครงการวิจัยนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาชีวภัณฑ์สำเร็จรูปชนิด Bacillus thuringiensis subsp. israelensis เพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายในภาชนะบรรจุน้ำใช้ต่างๆภายในครัวเรือน เพื่อให้ชีวภัณฑ์มีประสิทธิภาพดีและออกฤทธิ์นาน ทั้งนี้เพื่อให้ใช้งานสะดวก เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาชีวภัณฑ์รูปแบบแกรนูลชนิดปลดปล่อยช้าๆ (sustained release ) ขึ้น โดยได้ทดลองทำ สูตรผสมต่างๆ โดยจำแนกตามองค์ประกอบของสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสม และในแต่ละสูตรหลัก ก็ได้ผันแปรปริมาณสารเคมีแต่ละชนิด และขั้นตอนการทำชีวภัณฑ์สำเร็จรูป ส่วน B.t.i. เข้มข้นที่ใช้ต้องทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าลูกน้ำยุงลายในหลอดทดลองก่อนทุก ครั้ง เพื่อควบคุมค่า LC50 และ LC100 ของสูตรผสมทุกสูตร โดยใช้เชื้อ B.t.i. ที่ค่า LC100 ที่ ประมาณ 103 spores/ml สูตร 1 ประกอบค้วย ethyl cellulose, dibasic calcium phosphate และเชื้อ B.t.i. เข้มข้น สูตร 2 ประกอบค้วย dibasic calcium phosphate และเชื้อ B.t.i. เข้มข้น สูตร 3 ประกอบค้วย ethyl cellulose, dibasic calcium phosphate, polyvinyl pyroridone และเชื้อ B.t.i. เข้มข้น ประสิทธิภาพในการฆ่าลูกน้ำยุงลายของ B.t.i ชนิดแกรนูลทั้ง 3 สูตรมีค่า LC100 8.50 x103 , 6.83 x103 , 4.43 x103 spores/ml ตามลำดับ สูตร 1 และ สูตร 3 มีคุณสมบัติปลดปล่อย B.t.i อย่างช้าๆในปริมาณที่ทำลายลูกน้ำยุงลายได้นาน จึงถูกคัดเลือกไปทดสอบภาคสนามต่อไป จากนั้น ได้ทำการทดลองภาคสนามโดยใช้ชีวภัณฑ์สำเร็จรูป B.t.i. สูตร 1 ณ อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ทดลองใช้ B.t.i ชนิดแกรนูลสูตรที่ 3 ในน้ำใช้ในภาชนะทุกภาชนะตามสัดส่วน 20 กรัม/ น้ำ 200 ลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำยุงลายได้นาน 9 สัปดาห์ แต่พบลูกน้ำยุงลายเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 8 ครั้งที่ 2 ทดลองใช้ B.t.i ชนิดแกรนูลสูตรที่ 3 ที่ได้ปรับปรุงส่วนผสมบางรายการ โดยทดลองในน้ำใช้ในภาชนะทุกภาชนะ ของบ้านที่ทำการทดลอง ตามสัดส่วน 20 กรัม/ น้ำ 200 ลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำยุงลายได้นานประมาณ 12 สัปดาห์ โดยที่ปริมาณลูกน้ำยุงลายจะค่อยๆลดลงและหมดไปในสัปดาห์ที่ 3 แล้วพบลูกน้ำยุงลายเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 7 |
บรรณานุกรม | : |
จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ , Chanpen Wiwat . (2549). การควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยใช้ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ Bacillus thuringiensis subsp. Israelensis ชนิดออกฤทธิ์นาน.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ , Chanpen Wiwat . 2549. "การควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยใช้ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ Bacillus thuringiensis subsp. Israelensis ชนิดออกฤทธิ์นาน".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ , Chanpen Wiwat . "การควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยใช้ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ Bacillus thuringiensis subsp. Israelensis ชนิดออกฤทธิ์นาน."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2549. Print. จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ , Chanpen Wiwat . การควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยใช้ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ Bacillus thuringiensis subsp. Israelensis ชนิดออกฤทธิ์นาน. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2549.
|