ชื่อเรื่อง | : | Study of Monodon Slow Growth Agent (MSGA) a Newly Emerging Shrimp Pathogen in Thailand |
นักวิจัย | : | ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล , Timothy William Flegel |
คำค้น | : | Animal biotechnology and related animal science , Biological sciences , BT-B-02-SG-B7-4704 , Marine and freshwater biology , Monodon slow growth syndrome , การติดเชื้อ , การเลี้ยงกุ้ง , กุ้ง , กุ้งกุลาดำ , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ , สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
หน่วยงาน | : | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://www.nstda.or.th/thairesearch/node/592 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ในปี พ.ศ.2545 เกษตรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยได้รายงานถึงกุ้งกุลาดำที่มีอาการโตช้าผิด ปกติและให้ชื่ออาการโตช้าแบบนี้ว่า Monodon Slow growth syndrome(MSGS) (Sritunyalucksana et al., 2006) และคิดว่าเชื้อโรคน่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค MSGS ซึ่งสอดคล้องกับการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ MSGS ทั่วประเทศไทย ผลการทดลองเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการโดยเอาเนื้อเยื่อของกุ้ง MSGS มาบดและกรองเพื่อกำจัดแบคทีเรียและเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่ออก หลังจากนั้นนำ extract ที่ได้มาฉีดเข้าไปในกุ้งกุลาดำ สามารถเหนี่ยวนำให้กุ้งกุลาดำเป็นโรค MSGS ได้ ในขณะที่ฉีดเข้าไปในกุ้งขาว กุ้งขาวไม่เกิด MSGS ต่อมาได้มีการตั้ง case definition สำหรับอาการ MSGS ขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา และสามารถแยกบ่อกุ้งที่เกิดอาการ MSGS ออกจากบ่อที่กุ้งโตช้าเพราะสาเหตุอื่น ซึ่ง case definition ดังกล่าวคือบ่อที่จะเรียกว่า MSGS ต้องมีสัมประสิทธิ์ของความแตกต่างของขนาด (coefficient of size variation) ?35% และกุ้งต้องไม่ติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในตับ เช่น Hepatopancreatic parvovirus (HPV) เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีลักษณะอื่นๆร่วมด้วย คือ (1) มีสีดำผิดปกติ (2) มีค่า ADG < 0.1g/วัน เมื่อกุ้งมีอายุ 4 เดือน (3) มีแถบสีเหลืองที่ผิดปกติ (4) ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้องคล้ายไม้ไผ่ และ (5) หนวดเปราะ โดยลักษณะร่วมเหล่านี้ถ้ามี 3 ลักษณะจาก 5 ลักษณะ ที่กล่าวมาก็ถือว่ากุ้งอยู่ในกลุ่มอาการ MSGS ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากการโตช้าที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส Monodon baculovirus (MBV) หรือ HPV (Flegel et al., 1999, 2004) จากการสำรวจหาความเกี่ยวข้องของเชื้อก่อโรคหลายชนิดที่มีรายงานแล้วในกุ้ง กับอาการ MSGS พบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน (Chayaburakul et al. 2004) ผลการทดลองที่ได้บ่งชี้ถึงการมีเชื้อก่อโรคตัวใหม่ที่เป็นสาเหตุของ MSGS การแยกเชื้อก่อโรคออกจากกุ้งที่ติดเชื้อทำได้ยากเพราะกุ้งมีไวรัสและเชื้อ ก่อโรคอื่นๆอยู่หลายชนิด ส่วนการใช้ bioassay ก็ทำได้ยากเพราะใช้เวลานานมากว่า 1 เดือน ก่อนที่จะรู้ผล ดังนั้นทางทีมวิจัยจึงได้ใช้เทคนิค |
บรรณานุกรม | : |
ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล , Timothy William Flegel . (2550). Study of Monodon Slow Growth Agent (MSGA) a Newly Emerging Shrimp Pathogen in Thailand.
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล , Timothy William Flegel . 2550. "Study of Monodon Slow Growth Agent (MSGA) a Newly Emerging Shrimp Pathogen in Thailand".
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล , Timothy William Flegel . "Study of Monodon Slow Growth Agent (MSGA) a Newly Emerging Shrimp Pathogen in Thailand."
ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2550. Print. ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล , Timothy William Flegel . Study of Monodon Slow Growth Agent (MSGA) a Newly Emerging Shrimp Pathogen in Thailand. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2550.
|