ชื่อเรื่อง | : | ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง |
นักวิจัย | : | ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล |
คำค้น | : | คลองรากฟัน , ทันตกรรมรากฟัน , เรซินทางทันตกรรม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปรารมภ์ ซาลิมี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741718128 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12247 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันแล้วแต่มีผนังคลองรากฟันส่วนต้น บางหรือผายออก จะพบปัญหาของการพยากรณ์ความสำเร็จภายหลังการบูรณะด้วยเดือยและครอบฟัน เนื่องจากเนื้อฟันที่เหลือบางบริเวณคอฟันเป็นส่วนที่ได้รับแรงจากการบด เคี้ยวอาหารมากกว่าบริเวณอื่น และเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้จุดหมุนทำให้เกิดการแตกได้ง่าย มีผู้วิจัยได้เสนอกรณีศึกษาวิธีการบูรณะด้วยวิธีที่แตกต่างกันโดยการเสริม ผนังคลองรากฟัน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แสดงถึงผลการรักษาระยะยาว ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบแรงต้าน การแตก รวมทั้งรูปแบบการแตกของฟันที่ได้รับการบูรณะด้วยวิธีต่างๆ กันจากปัจจัยการเสริมผนังคลองรากฟัน และชนิดของเดือยที่ใช้ทางห้องปฏิบัติการ โดยพิจารณาปัจจัยหลักได้แก่ การเสริมหรือไม่เสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน และชนิดของเดือยที่ใช้ (เดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล เดือยสเตนเลสสตีล และเดือยเส้นใยคาร์บอนร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน) เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้ทันตแพทย์เลือกวิธีการบูรณะฟันประเภทนี้ อย่างเหมาะสม ศึกษาแรงต้านการแตกในการบูรณะด้วยเดือยและแกนในฟันซี่ตัดหน้ากลางบน ที่มีผนังคลองรากฟันส่วนต้นบางด้วยวิธีแตกต่างกัน 4 วิธี เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีคลองรากฟันปกติ และบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล (กลุ่มที่ 1) ซึ่งวิธีที่ใช้ได้แก่ บูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล โดยไม่เสริมผนังคลองรากฟัน (กลุ่มที่ 2) เสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วจึงบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อที่ทำจากโลหะไม่มีตระกูล (กลุ่มที่ 3) เสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วจึงบูรณะด้วยเดือยสเตนเลสสตีลร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน (กลุ่มที่ 4) และเสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน แล้วจึงบูรณะด้วยเดือยเส้นใยคาร์บอนร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน (กลุ่มที่ 5) ผลของแรงต้านการแตกเมื่อกดลงบริเวณด้านลิ้นของส่วนแกนพบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่า 1,126.9+-75.5 นิวตัน กลุ่มที่ 2 มีค่า 489.4+-48.7 นิวตัน กลุ่มที่ 3 มีค่า 639.9+-48.3 นิวตัน กลุ่มที่ 4 มีค่า 301.1+-50.4 นิวตัน และกลุ่มที่ 5 มีค่า 299.5+-55.4 นิวตัน วิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบเชฟเฟที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01 จากผลการวิเคราะห์พบว่าการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน จะให้ค่าแรงต้านการแตกสูงกว่าการไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้เกิดการแตกของรากฟันในระดับที่มีความลึกน้อยกว่าการไม่เสริม การบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปชนิดเดือยสเตนเลสสตีล และเดือยเส้นใยคาร์บอนร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซินมีค่าแรงต้านการแตกไม่แตกต่าง กัน การบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อให้ค่าแรงต้านการแตก สูงกว่าการบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน แต่การบูรณะด้วยเดือยและแกนโลหะหล่อจะเกิดการแตกที่รากฟัน ในขณะที่การบูรณะด้วยเดือยสำเร็จรูปร่วมกับแกนคอมโพสิตเรซิน จะเกิดการแตกที่แกนฟันโดยรากฟันไม่แตก ซึ่งมีโอกาสบูรณะฟันซี่นั้นใหม่ได้ |
บรรณานุกรม | : |
ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล . (2545). ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล . 2545. "ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล . "ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ลัดดาวัลย์ สัมพันธ์ศิริกุล . ผลของการเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินและการใช้เดือยชนิดต่างๆ ต่อความต้านทานการแตกในการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันและมีผนัง คลองรากส่วนต้นบาง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|