ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาผลของน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว (Curcuma mangga) ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ |
นักวิจัย | : | ปิยะนุช โตเอี่ยม |
คำค้น | : | น้ำมันหอมระเหย , ขมิ้นขาว -- เคมีวิเคราะห์ , กล้ามเนื้อเรียบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จันทนี อิทธิพานิชพงศ์ , นิจศิริ เรืองรังษี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741749058 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11561 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การศึกษาฤทธิ์เบื้องต้นทางเภสัชวิทยาของน้ำมัน ระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว ต่อกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาว หลอดลมหนูตะเภา ลำไส้เล็กส่วน jejunum กระต่าย ลำไส้เล็กส่วน ileum หนูตะเภา และกระเพาะอาหารทั้งกระเพาะของหนูถีบจักรที่แยกจากกาย พบว่าสารละลายน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว แบบสะสมขนาด 2x10[superscript -3]-3.2x10[superscript -2]% มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบทุกอวัยวะที่ศึกษาหดตัวเพิ่มขึ้น การหดตัวสูงสุดที่พบในกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาว หลอดลมหนูตะเภา ลำไส้เล็กส่วน jejunum กระต่าย ลำไส้เล็กส่วน ileum หนูตะเภาและกระเพาะอาหารทั้งกระเพาะของหนูขาวเป็น 40.65%, 40.41%, 28.70%, 40.29% และ 18.08% ตามลำดับ (EC[subscript 50] = 8x10[superscript -3], 4x10[superscript -3], 4x10[superscript -3], 4x10[superscript -3], 2x10[superscript -3] การทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันระเหยต่อ cholinergic receptor โดยใช้ atropine พบว่าสามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมหนูตะเภา ลำไส้เล็กส่วน jejunum กระต่าย ลำไส้เล็กส่วน ileum หนูตะเภา และกระเพาะอาหารทั้งกระเพาะที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยน้ำมันระเหยจากเหง้า ขมิ้นขาวได้ การทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันระเหยต่อ histaminergic receptor และ serotonin receptor ในกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมหนูตะเภา ลำไส้เล็กส่วน jejunum กระต่าย กล้ามเนื้อเรียบลำไส้เล็กส่วน ileum หนูตะเภา และกระเพาะอาหารทั้งกระเพาะหนูถีบจักร โดยใช้ chlorpheniramine และ cyproheptadine พบว่า chlorpheniramine 1x10[superscript -7] M และ cyproheptadine 1x10[superscript -7]M สามารถยับยั้งการหดตัวที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยน้ำมันระเหยได้ การศึกษาผลของน้ำมันระเหยต่อ calcium ภายนอกเซลล์ในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ โดยใช้ verapamil ยับยั้งการผ่านเข้าเซลล์ของ calcium ภายนอกเซลล์ในกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาว และกล้ามเนื้อเรียบส่วน ileum หนูตะเภา พบว่าสามารถยับยั้งการหดตัวที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยน้ำมันระเหยได้ การศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันระเหยต่อ alpha-adrenegic receptor ในกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาว พบว่า prazosin สามารถยับยั้งการหดตัวที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยน้ำมันระเหยได้ และในการทดลองในลำไส้หนูถีบจักรสภาพปกติ พบว่าน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาวสามารถเพิ่มระยะทางการเคลื่อนที่ ของผงถ่านในลำไส้เล็กได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองสรุปได้ว่าน้ำมันระเหยที่สกัดจากเหง้าขมิ้นขาวแบบสะสมขนาด 2x10[superscript -3]-3.2x10[superscript -2]% สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบจากอวัยวะต่างๆ โดยผ่านตัวรับหลายชนิดแบบไม่จำเพาะเจาะจง และแคลเซียมภายนอกเซลล์มีผลต่อการหดตัวด้วย |
บรรณานุกรม | : |
ปิยะนุช โตเอี่ยม . (2546). การศึกษาผลของน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว (Curcuma mangga) ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยะนุช โตเอี่ยม . 2546. "การศึกษาผลของน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว (Curcuma mangga) ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยะนุช โตเอี่ยม . "การศึกษาผลของน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว (Curcuma mangga) ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ปิยะนุช โตเอี่ยม . การศึกษาผลของน้ำมันระเหยจากเหง้าขมิ้นขาว (Curcuma mangga) ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|