ชื่อเรื่อง | : | ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างไอพีเอส-เอมเพรสทู และเรซินซีเมนต์ 3 ระบบ |
นักวิจัย | : | พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ |
คำค้น | : | เรซินทางทันตกรรม , ทันตกรรมประดิษฐ์ , การยึดติดทางทันตกรรม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741753772 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11551 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่าง เรซินซีเมนต์สามระบบ และไอพีเอสเอมเพรสทู เปรียบเทียบอิทธิพลของกลไกการเกิดปฏิกิริยาการก่อตัวของเรซินซีเมนต์ และอิทธิพลของระยะเวลาทดสอบหลังจากสิ้นสุดเวลาทำงาน โดยเตรียมชิ้นงานเซรามิกทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 และ 9 มม. หนา 2 มม. อย่างละ 120 ชิ้น ปรับสภาพผิวด้วยกรดกัดแก้ว ซีเลน และยึดติดกันด้วยเรซินซีเมนต์ ทั้ง 3 ระบบ ตามขั้นตอนที่ผู้ผลิตกำหนด ชิ้นทดสอบแบ่งเป็น 12 กลุ่ม กลุ่มที่ 1- 4 ยึดด้วยวาลิโอลิงค์ทู ที่เวลา 24 ชั่วโมง 120, 90 และ 60 นาที ตามลำดับ กลุ่มที่ 5-8 ยึดด้วยพานาเวียเอฟ และกลุ่มที่ 9-12 ยึดด้วยซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี ที่เวลาเดียวกัน นำข้อมูลมาทดสอบทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและทางเดียว แล้วเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบทูกีย์ ได้ผลดังนี้ ชนิดซีเมนต์และเวลาต่างมีผลต่อความแข็งแรงยึดเฉือนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กลุ่มซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีมีความแข็งแรงยึดเฉือนต่ำกว่ากลุ่มพานาเวียเอฟ และวาลิโอลิงค์ทูอย่างมีนัยสำคัญทุกช่วงเวลา (p<0.05) กลุ่มซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีมีความแข็งแรงยึดเฉือนต่ำกว่ากลุ่มพานาเวียเอ ฟและวาลิโอลิงค์ทู อย่างมีนัยสำคัญทุกช่วงเวลา (p<0.05) กลุ่มพานาเวียเอฟมีความแข็งแรงยึดเฉือนฉลี่ยไม่แตกต่างกันในทุกเวลา (p>0.05) กลุ่มวาลิโอลิงค์ทู 24 ชั่วโมง มีความแข็งแรงยึดเฉือนเฉลี่ยแตกต่างจากอีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มพานาเวียเอฟ และวาลิโอลิงค์ทู ที่ระยะเวลาต่างๆ พบว่ามีความแข็งแรงยึดเฉือนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) กลุ่มที่มีความแข็งแรงยึดเฉือนสูงที่สุดคือ กลุ่มที่ 1 ซึ่งมีค่ามากกว่า กลุ่มที่ 5 แต่ค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนกลุ่มที่ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนต่ำที่สุดคือ กลุ่มที่ 12 ซึ่งมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ 11 และกลุ่มที่ 10 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05)ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มซึ่งทดสอบก่อน 24 ชั่วโมง ที่ใช้ วาลิโอลิงค์ทู และพานาเวียเอฟ คือกลุ่มที่ 6, 2, 3, 7, 8 และ 4 จากมากไปน้อยตามลำดับ ซึ่งทั้งหกกลุ่มกลางมีค่าทางสถิติต่ำกว่าสองกลุ่มแรก แต่ก็มีค่าสูงกว่าทุกกลุ่มที่ใช้ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กลุ่มทดสอบที่ 9 มีค่าสถิติที่แตกต่างจากทุกกลุ่มทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าเมื่อใช้เรซินซีเมนต์ยึดชิ้นงานไอพีเอสเอมเพรสทู ควรใช้เรซินที่มีบีสจีเอมเอ หรือเอมดีพีเป็นองค์ประกอบหลัก และควรทิ้งระยะเวลาก่อนขัดแต่งอย่างน้อย 60 นาที |
บรรณานุกรม | : |
พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ . (2546). ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างไอพีเอส-เอมเพรสทู และเรซินซีเมนต์ 3 ระบบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ . 2546. "ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างไอพีเอส-เอมเพรสทู และเรซินซีเมนต์ 3 ระบบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ . "ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างไอพีเอส-เอมเพรสทู และเรซินซีเมนต์ 3 ระบบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ . ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างไอพีเอส-เอมเพรสทู และเรซินซีเมนต์ 3 ระบบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|