ชื่อเรื่อง | : | การสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดย Bacillus K10 |
นักวิจัย | : | พรพิมล เปรมชัยพร |
คำค้น | : | ไดเบนโซไทโอฟีน , การย่อยสลายทางชีวภาพ , บาซิลลัส |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อัญชริดา อัครจรัลญา , วราภรณ์ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746361112 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11569 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 เมื่อใช้ไดเบนโซไธโอฟีนเป็นตัวแทนของกำมะถันอินทรีย์ในถ่านหินลิกไนต์ สามารถแยกแบคทีเรียที่ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนได้ 342 สายพันธุ์ เป็นแบคทีเรียที่ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนด้วยวิถี 4S หรือวิถีที่ย่อยสลายเอาเฉพาะโมเลกุลกำมะถันออกมาจากโมเลกุลของไดเบนโซไธโอ ฟีนเพียง 1 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ K10 เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 45 ํC เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหาร NBYE แต่เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารที่ปราศจากสารกำมะถัน อุณหภูมิสูงสุดที่สามารถเจริญได้คือ 25-30 ํC จากองค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากกำมะถัน การเพิ่มปริมาณสารสกัดจากยีสต์มีผลทำให้การเจริญของเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มปริมาณการเจริญของเชื้อนี้อาจใช้วิตามินไบโอติน ไซยาโนโคบาลามิน วิตามินรวม กรดอะมิโนอะลานีน ทริปโตเฟน กรดอะมิโนรวม แหล่งไนโตรเจนอินทรีย์ เช่น เคซีน สารสกัดจากเนื้อ เปปโตน และทริปโตน แทนสารสกัดจากยีสต์ ผลการวิเคราะห์น้ำเลี้ยงเชื้อ พบ 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิล ซึ่งเป็นสารตัวกลางที่บ่งชี้ว่าแบคทีเรียย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดยวิถี 4S เฉพาะในน้ำเลี้ยงเชื้อปราศจากกำมะถันที่เติมสารสกัดจากยีสต์ เคซีน และสารสกัดจากเนื้อ ภาวะที่แบคทีเรีย K10 สามารถย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนให้ได้เป็น 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิลสูงสุดคือ เมื่อเพาะเลี้ยงไว้ในอาหารที่ปราศจากสารกำมะถันที่เติมไดเบนโซไธโอฟีน และเติมเคซีนความเข้มข้น 0.20% แทนสารสกัดจากยีสต์ที่อุณหภูมิ 30 ํC บนเครื่องเขย่าความเร็ว 200 รอบ/นาที เป็นเวลา 3 วัน ปริมาณ 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิลที่ได้คือ 18.0 ไมโครกรัม/100 มล. NADH มีผลทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนของแบคทีเรียสายพันธุ์ K10 สูงขึ้น พบความสัมพันธ์ระหว่างการลดลงของไดเบนโซไธโอฟีนและการเพิ่มขึ้นของ 2-ไฮดรอกซีไบฟีนิล ไม่พบพลาสมิดใดๆ ในเซลล์ของแบคทีเรียสายพันธุ์ K10 แสดงว่ายีนที่เป็นรหัสของเอนไซม์ย่อยสลายไดเบนโซไธโอฟีนอยู่บนโครโมโซม |
บรรณานุกรม | : |
พรพิมล เปรมชัยพร . (2539). การสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดย Bacillus K10.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรพิมล เปรมชัยพร . 2539. "การสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดย Bacillus K10".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรพิมล เปรมชัยพร . "การสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดย Bacillus K10."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. พรพิมล เปรมชัยพร . การสลายไดเบนโซไธโอฟีนโดย Bacillus K10. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|