ชื่อเรื่อง | : | การจำลองพร้อมการจินตทัศน์สภาพจราจรบนถนนในระดับจุลภาคแบบกระจายด้วยกลุ่มสถานีงาน |
นักวิจัย | : | รัตนา แสงผ่องแผ้ว |
คำค้น | : | การประมวลผลแบบขนาน , การจำลองในระบบจุลภาค , จราจร -- แบบจำลอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สืบสกุล พิภพมงคล , สรวิศ นฤปิติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740304273 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11448 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การจำลองในระดับจุลภาคเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบทางจราจร อย่างไรก็ตาม แบบจำลองที่มีอยู่มักจะมีข้อจำกัดในด้านการจินตทัศน์แบบทันกาล ในด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการจราจร และในด้านประสิทธิภาพเชิงความเร็วเมื่อประมวลผลปริมาณรถจำนวนมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอการพัฒนาต้นแบบจำลองการจราจรในระดับจุลภาค พร้อมแสดงการจินตทัศน์แบบทันกาล โดยใช้หลักการประมวลผลแบบกระจายด้วยกลุ่มสถานีงาน ในการทดลองได้ใช้สถานีงานจำนวน 3 เครื่องเชื่อมต่อกันบนเครือข่ายท้องถิ่นความเร็ว 100 Mbps การแบ่งภาระในการประมวลผลใช้หลักการแบ่งเชิงพื้นที่ในลักษณะที่มีการติดต่อข้ามพื้นที่ให้น้อยที่สุดเพื่อลดเวลาที่สูญเสียสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลรถระหว่างสถานีงานลง ซึ่งจะเหมาะกับการประมวลผลแบบขนานในลักษณะกระจายลักษณะทางกายภาพของถนนสามารถกำหนดให้จำลองได้ถึงในระดับช่องทางจราจร การเคลื่อนที่ของรถแต่ละคันใช้หลักการเคลื่อนที่ตามกัน การเปลี่ยนช่องทางจราจร การเร่งและการชะลอตามสัญญาณไฟจราจรทุกสถานีงานในระบบทำงานแบบประสานเวลาโดยใช้หลักการกีดขวางเพื่อกำหนดให้สถานีงานที่ประมวลผลเสร็จแล้วหยุดรอจนกว่าสถานีงานในระบบจะประมวลผลเสร็จทุกเครื่อง จึงทำงานในรอบถัดไปได้ โดยมีสถานีงานหนึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องหัวหน้าเพื่อควบคุมการประสานเวลาภายในระบบ ส่วนสถานีงานที่เหลือเป็นเครื่องผู้ช่วย อย่างไรก็ตามทั้งเครื่องหัวหน้าและเครื่องผู้ช่วย ต่างมีหน้าที่ในการประมวลผลโครงข่ายย่อยที่แต่ละเครื่องได้รับผิดชอบเช่นกัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การประมวลผลด้วยสถานีงานเพียงเครื่องเดียวสามารถประมวลผลรถได้ในปริมาณที่จำกัดเรื่องจากสาเหตุด้านทรัพยากรของระบบ และประสิทธิภาพของระบบจะลดลงเมื่อประมวลผลปริมาณรถใกล้จำนวนจำกัดดังกล่าว การกระจายการประมวลผลด้วยกลุ่มสถานีงานจะช่วยลดเวลาในการประมวลผลเมื่อปริมาณรถในระบบมีมาก ขณะที่ประสิทธิภาพเชิงความเร็วของระบบดีขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของระบบจะดีที่สุดเมื่อสถานีงานแต่ละสถานีมีการกระจากภาระการประมวลผลด้วยปริมาณรถจำนวนใกล้เคียงกันโดยที่สถานีงานแต่ละสถานีมีความสามารถในการประมวลผลเท่ากัน |
บรรณานุกรม | : |
รัตนา แสงผ่องแผ้ว . (2544). การจำลองพร้อมการจินตทัศน์สภาพจราจรบนถนนในระดับจุลภาคแบบกระจายด้วยกลุ่มสถานีงาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัตนา แสงผ่องแผ้ว . 2544. "การจำลองพร้อมการจินตทัศน์สภาพจราจรบนถนนในระดับจุลภาคแบบกระจายด้วยกลุ่มสถานีงาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัตนา แสงผ่องแผ้ว . "การจำลองพร้อมการจินตทัศน์สภาพจราจรบนถนนในระดับจุลภาคแบบกระจายด้วยกลุ่มสถานีงาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. รัตนา แสงผ่องแผ้ว . การจำลองพร้อมการจินตทัศน์สภาพจราจรบนถนนในระดับจุลภาคแบบกระจายด้วยกลุ่มสถานีงาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|