ชื่อเรื่อง | : | ผลของความหนาทางด้านลิ้นต่อแรงต้านการแตก ของครอบฟันชนิดกลาสอินฟิลเทรตเซรามิก |
นักวิจัย | : | วิริยะ ณ ระนอง |
คำค้น | : | ครอบฟัน , อินซีแรม , พอร์ซเลนทางทันตกรรม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปรารมภ์ ซาลิมี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | 9746395262 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9974 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 กลาสอินฟิลเทรตเซรามิก (อินซีแรม) เป็นเซรามิกที่มีความแข็งแรงสูงชนิดหนึ่ง สามารถใช้เป็นโครงสร้างภายในของครอบฟัน และสะพานฟันแทนการใช้โลหะ บริษัทผู้ผลิตแนะนำให้กรอตัดเนื้อฟันโดยรอบ 1.2-1.5 มิลลิเมตรสำหรับชั้นของอินซีแรม 0.5 มิลลิเมตรและชั้นพอร์ซเลนวีเนียร์ 0.7-1.0 มิลลิเมตรเพื่อให้ครอบฟันมีความแข็งแรงและสวยงาม อย่างไรก็ตามการกรอตัดเนื้อฟันถึง 1.5 มิลลิเมตรทำได้ยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในบริเวณฟันหน้าซึ่งลักษณะทางด้านลิ้นของครอบฟันมีผลต่อความสวยงามไม่มากนัก การกรอตัดเนื้อฟัน 1.5 มิลลิเมตร เพื่อให้มีเนื้อที่สำหรับพอร์ซเลนวีเนียร์ 0.7-1.0 มิลลิเมตรอาจไม่มีความจำเป็น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงต้านการแตกของครอบฟันที่มีความหนาของชั้นพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้นแตกต่างกัน การศึกษาทำโดยเตรียมครอบฟันอินซีแรมสำหรับฟันตัดบน 3 กลุ่มๆ ละ 10 ตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 มีพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้น 1.0 มิลลิเมตร กลุ่มที่ 2 มีพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้น 0.3 มิลลิเมตร และกลุ่มที่ 3 ไม่มีพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้นยึดครอบฟันทั้ง 3 กลุ่มบนแม่แบบฟันโลหะโคบอลต์โครเมียมด้วยเรซินซีเมนต์ นำมาทดสอบหาปริมาณแรงกดที่ทำให้ครอบฟันแตกร้าวโดยใช้แรงกดทำมุม 135 องศา กับแนวแกนของครอบฟัน พบว่า ปริมาณแรงกดที่ทำให้ครอบฟันเกิดการแตกร้าวของกลุ่มที่ 1 (789.82 +_ 67 นิวตัน) และกลุ่มที่ 2 (705.23 +_ 146 นิวตัน) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีค่ามากกว่าแรงกดที่ทำให้ครอบฟันกลุ่มที่ 3 เกิดการแตกร้าว (524.06 +_ 90 นิวตัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบ Scheffe จากการทดลองสรุปได้ว่าพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้นช่วยให้ครอบฟันอินซีแรมมีแรงต้านการแตกมากขึ้น แต่ความแตกต่างระหว่างความหนาของพอร์ซเลนวีเนียร์ทางด้านลิ้น 0.3 และ 1.0 มิลลิเมตร ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงต้านการแตกของครอบฟันอินซีแรม |
บรรณานุกรม | : |
วิริยะ ณ ระนอง . (2541). ผลของความหนาทางด้านลิ้นต่อแรงต้านการแตก ของครอบฟันชนิดกลาสอินฟิลเทรตเซรามิก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิริยะ ณ ระนอง . 2541. "ผลของความหนาทางด้านลิ้นต่อแรงต้านการแตก ของครอบฟันชนิดกลาสอินฟิลเทรตเซรามิก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิริยะ ณ ระนอง . "ผลของความหนาทางด้านลิ้นต่อแรงต้านการแตก ของครอบฟันชนิดกลาสอินฟิลเทรตเซรามิก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. Print. วิริยะ ณ ระนอง . ผลของความหนาทางด้านลิ้นต่อแรงต้านการแตก ของครอบฟันชนิดกลาสอินฟิลเทรตเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
|