ชื่อเรื่อง | : | อุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ สภาวะการแข่งขันและมาตรการควบคุม |
นักวิจัย | : | พรรณศรี พัฒนเกียรติ |
คำค้น | : | พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 , พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 , สื่อมวลชน , การแข่งขันทางการค้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธงทอง จันทรางศุ , สุธีร์ ศุภนิตย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743348921 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10346 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การประกาศใช้มาตรา 40 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ส่งผลเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบสื่อวิทยุโทรทัศน์จากการเป็นกิจการผูกขาดโดยรัฐมาสู่การเปิดโอกาสให้แก่เอกชน กลุ่มสังคมและประชาชนเข้าประกอบกิจการให้บริการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ได้ ภายใต้หลักแห่ง "การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม" ถือเป็นการปรับเปลี่ยนปรัชญาการจัดระบบกิจการสื่อสารให้เป็นไปในแนวทางของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ โดยยอมรับจุดเด่นของระบบธุรกิจและกลไกการแข่งขันมากยิ่งขึ้น การแสวงหามาตรการทางกฎหมายเพื่ออนุวัติการณ์มาตรา 40 และควบคุมให้สภาวะการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นนี้ ส่งผลดีและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะร่วมกันได้ จึงถือเป็นข้อพิจารณาประการสำคัญ การควบคุมสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ประกอบไปด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมใน 2 ลักษณะคือ กฎหมายเฉพาะกิจการสื่อสารมวลชนและกฎหมายการแข่งขันทางการค้าทั่วไป กฎหมายเฉพาะ คือกฎหมายที่มุ่งควบคุมกิจการสื่อวิทยุโทรทัศน์ในฐานะผู้ผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมและสินค้าสาธารณะ ที่อาจกระทบต่อประโยชน์ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและคุณภาพชีวิตของประชาชน สาระสำคัญของกฎหมายนี้ จึงได้แก่การสร้างกระบวนการคัดสรรผู้ประกอบการที่มีความเหมาะสมเข้าสู่อุตสาหกรรม ขณะที่กฎหมายการแข่งขันทางการค้าจะมุ่งคุ้มครองให้สังคมและผู้บริโภค ได้รับประโยชน์จากระบบธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ของประเทศไทย ประกอบด้วยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และกฎหมายอนุวัติมาตรา 40 ฉบับอื่นๆ ในลักษณะของกฎหมายเฉพาะเพื่อผลในการป้องกันการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมอันจะนำไปสู่การจำกัดโอกาสในการเลือกบริโภคหรือกำหนดกรอบความคิดของประชาชน และกฎหมายทั่วไปคือพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เพื่อผลในการควบคุมพฤติกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการมิให้กระทำการบิดเบือนกลไกการแข่งขันเพื่อรักษาประโยชน์ของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในการบัญญัติหรือบังคับใช้กฎหมายทั้งสอบระบบนี้ ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือ กระบวนการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมนี้ จะต้องสามารถผลักดันให้เกิดประโยชน์ทางสังคมควบคู่ไปกับประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจอย่างสมดุลได้จึงจะถือเป็นสภาวะการแข่งขันที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะอย่างสูงสุดตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญได้ |
บรรณานุกรม | : |
พรรณศรี พัฒนเกียรติ . (2542). อุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ สภาวะการแข่งขันและมาตรการควบคุม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรณศรี พัฒนเกียรติ . 2542. "อุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ สภาวะการแข่งขันและมาตรการควบคุม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรณศรี พัฒนเกียรติ . "อุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ สภาวะการแข่งขันและมาตรการควบคุม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. พรรณศรี พัฒนเกียรติ . อุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์ สภาวะการแข่งขันและมาตรการควบคุม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|