ชื่อเรื่อง | : | ความรับผิดทางอาญาในการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง |
นักวิจัย | : | ศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ |
คำค้น | : | ความรับผิดทางอาญา , ความผิดทางอาญา , กฎหมายอาญา , โรคติดต่อ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วีระพงษ์ บุญโญภาส , ไพรัช ดีสุดจิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741706871 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9800 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาและวิเคราะห์ว่าจะสามารถนำกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง มาปรับใช้ในการวินิจฉัยลงโทษผู้ที่กระทำการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงไปยังบุคคลอื่นได้หรือไม่เพียงใด และการบัญญัติความผิดอาญาฐานกระทำการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจะมีความเหมาะสมหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายในประมวลกฎหมายอาญา ที่นำมาปรับใช้ในการวินิจฉัยลงโทษผู้กระทำการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะโรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี และโรคซิฟิลิสมีอุปสรรคในการนำมาบังคับใช้ในการวินิจฉัยความรับผิด เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่ต้องการผลของการกระทำ แต่กรณีการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงย่อมอาศัยระยะเวลาในการฟักตัว ช่วงหนึ่งจึงจะปรากฏอาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและร่างกาย ของผู้กระทำอันเป็นเหตุให้ไม่อาจดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการแพร่เชื้อโรค และในบางกรณีผู้ติดเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงที่ได้กระการแพร่เชื้อโรคไป อาจถึงแก่ความตายก่อนหรือในระหว่างดำเนินคดีอาญา ซึ่งส่งผลให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม หลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศในหลายประเทศแล้วพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย มีการบัญญัติฐานความผิดทางอาญาเกี่ยวกับ การแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งกำหนดให้เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผลของการกระทำ กล่าวคือ เมื่อมีการลงมือกระทำการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรง ผู้กระทำการแพร่เชื้อโรคมีความผิดปกติทันที เช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการพิสูจน์ความสัมพันธ์ ระหว่างการกระทบและผล ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการนำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ในประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้ โดยเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย อันได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 กล่าวคือ เสนอให้มีการบัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายอาญา โดยกำหนดให้เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผลของการกระทำ และกำหนดคำนิยายของคำว่า "โรคติดต่อร้ายแรง" ให้หมายความถึงโรคติดต่อร้ายแรงที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม และไม่หมายความรวมถึงโรคแอนแทร็กซ์ด้วย นอกจากนี้ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โดยกำหนดคำนิยามคำว่า "โรคติดต่อร้ายแรง"ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติประมวลกฏหมายอาญาที่ได้เสนอมาในข้างต้นซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวจะทำให้สามารถนำกฏหมายอาญามาวินิจฉัยลงโทษผู้กระทำการแพร่เชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจักส่งผลให้เป็นการยับยั้งการกระทำการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงได้อีกทางหนึ่ง |
บรรณานุกรม | : |
ศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ . (2544). ความรับผิดทางอาญาในการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ . 2544. "ความรับผิดทางอาญาในการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ . "ความรับผิดทางอาญาในการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ศิริพร จารุพิสิฐไพบูลย์ . ความรับผิดทางอาญาในการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|