ชื่อเรื่อง | : | การถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 |
นักวิจัย | : | กฤตติกา ยุวนะเตมีย์ |
คำค้น | : | การลงโทษ , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 , การถอดถอนจากตำแหน่ง , รัฐธรรมนูญ -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธงทอง จันทรางศุ , มานิตย์ จุมปา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741310889 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9344 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดระบบการถอดถอนจากตำแหน่งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมการทุจริตหรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง โดยไม่เพียงแต่ใช้ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึงการตรวจสอบข้าราชการประจำระดับสูงด้วย ในกรณีนี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาลงโทษทางวินัยของข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบวินัยข้าราชการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการบังคับใช้มาตรการถอดถอนจากตำแหน่งกับข้าราชประจำ จากการศึกษาวิจัยพบว่าอาจเกิดปัญหาในการถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งขึ้น สองประการด้วยกัน ประการแรก คือ ปัญหาที่มีต่อระบบการควบคุมข้าราชการประจำ กระบวนการถอดถอนจากตำแหน่งจะทำให้เกิดความลักลั่นต่อการพิจารณาลงโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชา และต่อการพิจารณาคดีโต้แย้งคำสั่งทางวินัยของศาลปกครองส่งผลให้เกิดความสับสนในการบังคับตามคำวินิจฉัยขององค์กรทั้งสาม รวมทั้งในการพิจารณาถึงสิทธิของข้าราชการตามกฎหมายระเบียบวินัยข้าราชการ ประการที่สอง คือ ปัญหาในกระบวนการลงโทษถอดถอนจากตำแหน่ง เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการถอดถอนจากตำแหน่งมีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือในบางกรณี อาจทำให้ผู้ถูกกล่าวหาใช้ช่องว่างของกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษของมาตรการดังกล่าวได้ และยังอาจเป็นผลให้องค์กรผู้พิจารณคดี (วุฒิสภา) ตัดสินคดีโดยขาดความเป็นกลางได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการป้องกันปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ และทำให้การควบคุมการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ดังนี้ 1. บัญญัติให้มติของวุฒิสภาไม่มีผลต่อกระบวนการพิจารณาลงโทษทางวินัย และต่อสิทธิของข้าราชการตามที่บัญญัติในกฎหมายระเบียบวินัยข้าราชการ ตลอดจนไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีของศาลปกครอง 2. บัญญัติหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถอดถอนจากตำแหน่งของวุฒิสภา ให้มีกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อวุฒิสภาโดยเปิดเผย และให้สมาชิกวุฒิสภาแสดงเหตุผลในการวินิจฉัย 3. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคำร้องขอถอดถอนจากตำแหน่ง เงื่อนไขการพิจารณาคดี และบทลงโทษของมาตรการถอดถอนจากตำแหน่งให้ชัดเจนเพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของรัฐธรรมนูญ เป็นสำคัญ |
บรรณานุกรม | : |
กฤตติกา ยุวนะเตมีย์ . (2543). การถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กฤตติกา ยุวนะเตมีย์ . 2543. "การถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กฤตติกา ยุวนะเตมีย์ . "การถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. กฤตติกา ยุวนะเตมีย์ . การถอดถอนข้าราชการประจำจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|