ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาล ในระดับปริญญาตรี |
นักวิจัย | : | อุษณีย์ เทพวรชัย |
คำค้น | : | พยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน , พยาบาลศาสตร์ -- หลักสูตร , การเรียนแบบมีส่วนร่วม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปทีป เมธาคุณวุฒิ , ธิดารัตน์ บุญนุช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743333711 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9307 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาล ในระดับปริญญาตรี และเปรียบเทียบผลการสอนนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่สอนตามรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก ทางการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี กับกลุ่มที่สอนตามปกติ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสรุปเหตุผล ด้านความภาคภูมิใจในตนเอง และความสามารถด้านการติดต่อสื่อสารในทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ปีที่ 1 จำนวน 114 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 57 คน และกลุ่มควบคุม 57 คน โดยแบ่งตามคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผู้วิจัยสร้างเอง แบบทดสอบความสามารถในการคิด ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์ทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แบบประเมินความภาคภูมิใจในตนเอง โดยใช้เครื่องมือ Culture-Free Self Esteem Inventories ของ James Battle (1992) และแบบประเมินความสามารถด้านการติดต่อสื่อสารในทีม โดยใช้เครื่องมือ Team Communication ของ Rollin Glaser (1983) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี มีโครงสร้าง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก วิธีสอนตามแนวคิดเชิงรุก กระบวนการเรียนการสอนเชิงรุก และการประเมินผลการเรียนการสอนเชิงรุก 2. นักศึกษาที่สอนตามรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกับนักศึกษาที่สอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสรุปเหตุผล ด้านความภาคภูมิใจในตนเอง และความสามารถด้านการติดต่อสื่อสารในทีม แต่ไม่แตกต่างกันในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. ภายหลังการสอน 8 สัปดาห์ นักศึกษาที่สอนตามรูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุก ทางการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยหลังสอนแตกต่างกับก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และสรุปเหตุผล ด้านความภาคภูมิใจในตนเอง และความสามารถด้านการติดต่อสื่อสารในทีม 4. ในการทำงานเป็นทีม นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม แสดงบทบาทในลักษณะ เน้นการสนับสนุนกลุ่มมากกว่าการเน้นงาน |
บรรณานุกรม | : |
อุษณีย์ เทพวรชัย . (2542). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาล ในระดับปริญญาตรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษณีย์ เทพวรชัย . 2542. "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาล ในระดับปริญญาตรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษณีย์ เทพวรชัย . "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาล ในระดับปริญญาตรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. อุษณีย์ เทพวรชัย . การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาล ในระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|